Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/640
Title: | โครงสร้างและความแข็งแรงดึงของรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI430 ด้วยการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนตัวกวนรูปร่างต่างๆ |
Other Titles: | Microstructure and Tensile Strength of AA 6063 Aluminum and AISI 430 Stainless Steel by Friction Stir Welding Various Stirrer Shape |
Authors: | ศักดิ์ชัย จันทศรี |
Keywords: | เหล็กกล้าไร้สนิม -- การเชื่อม การเชื่อม อะลูมิเนียม เหล็กกล้าไร้สนิม |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศกรรมการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | กระบวนการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน สามารถทำการเชื่อมอะลูมิเนียมเข้ากับเหล็กกล้าไร้สนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือให้ความร้อนต่ำกว่าจุดหลอมละลาย ที่เกิดจากการเสียดสีกันระหว่างผิวแกนหมุนกับเนื้อวัสดุในสภาพพลาสติก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประยุกต์การเชื่อมรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 430และทำการทดสอบความแข็งแรงดึง ที่เชื่อมด้วยตัวกวนรูปร่างต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานเชื่อม
ในการทดลองใช้ตัวแปรในการเชื่อมได้แก่ตัวกวนรูปร่าง ทรงกระบอก ทรงกระบอกเกลียว ทรงกรวย และทรงกรวยเกลียว ความเร็วรอบตัวกวน 250-750 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 50-175 มม./นาที หลังจากนั้นนำชิ้นงานเชื่อมไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงดึง ตรวจสอบโครงสร้าง มหภาคและโครงสร้างจุลภาคของแนวเชื่อม ตามลำดับ
ผลการทดลองพบว่า ค่าความแข็งแรงดึงสูงสุดคือ 126.33 MPa ความเร็วรอบ 500 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 125 มม./นาที ด้วยตัวกวนรูปทรงกรวยเกลียว ผิวหน้าแนวเชื่อมมีความเรียบผิวสม่ำเสมอ แนวเชื่อมมีขนาดเท่ากัน ไม่พบจุดบกพร่อง การตรวจสอบโครงสร้างมหภาครอยฉีกขาดมีลักษณะคล้ายเส้นซิกแซกค่อนไปทางอะลูมิเนียม และโครงสร้างจุลภาคพบว่าเนื้อของเหล็กกล้าไร้สนิม แทรกตัวอยู่ในเนื้ออะลูมิเนียมบริเวณอินเทอร์เฟส ค่อนข้างมากที่ด้านล่างของแนวเชื่อม และทำการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีพบว่า FeAl ซึ่งเป็นสารประกอบกึ่งโลหะอยู่บริเวณอินเทอร์เฟสฝั่งอะลูมิเนียม ซึ่งมีความสอดคล้องกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้รอยเชื่อมมีค่าความแข็งแรงดึงดีที่สุด กระบวนการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน สามารถทำการเชื่อมอะลูมิเนียมเข้ากับเหล็กกล้าไร้สนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือให้ความร้อนต่ำกว่าจุดหลอมละลาย ที่เกิดจากการเสียดสีกันระหว่างผิวแกนหมุนกับเนื้อวัสดุในสภาพพลาสติก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประยุกต์การเชื่อมรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 430และทำการทดสอบความแข็งแรงดึง ที่เชื่อมด้วยตัวกวนรูปร่างต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานเชื่อม ในการทดลองใช้ตัวแปรในการเชื่อมได้แก่ตัวกวนรูปร่าง ทรงกระบอก ทรงกระบอกเกลียว ทรงกรวย และทรงกรวยเกลียว ความเร็วรอบตัวกวน 250-750 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 50-175 มม./นาที หลังจากนั้นนำชิ้นงานเชื่อมไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงดึง ตรวจสอบโครงสร้าง มหภาคและโครงสร้างจุลภาคของแนวเชื่อม ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ค่าความแข็งแรงดึงสูงสุดคือ 126.33 MPa ความเร็วรอบ 500 รอบ/นาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 125 มม./นาที ด้วยตัวกวนรูปทรงกรวยเกลียว ผิวหน้าแนวเชื่อมมีความเรียบผิวสม่ำเสมอ แนวเชื่อมมีขนาดเท่ากัน ไม่พบจุดบกพร่อง การตรวจสอบโครงสร้างมหภาครอยฉีกขาดมีลักษณะคล้ายเส้นซิกแซกค่อนไปทางอะลูมิเนียม และโครงสร้างจุลภาคพบว่าเนื้อของเหล็กกล้าไร้สนิม แทรกตัวอยู่ในเนื้ออะลูมิเนียมบริเวณอินเทอร์เฟส ค่อนข้างมากที่ด้านล่างของแนวเชื่อม และทำการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีพบว่า FeAl ซึ่งเป็นสารประกอบกึ่งโลหะอยู่บริเวณอินเทอร์เฟสฝั่งอะลูมิเนียม ซึ่งมีความสอดคล้องกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้รอยเชื่อมมีค่าความแข็งแรงดึงดีที่สุด |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/640 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Microstructure and Tensile Strength of AA 6063 Aluminum and AISI 430 Stainless Ste....pdf | โครงสร้างและความแข็งแรงดึงของรอยต่อชนอะลูมิเนียม AA 6063 และเหล็กกล้าไร้สนิม AISI430 ด้วยการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนตัวกวนรูปร่างต่างๆ | 15.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.