Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/675
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก | |
dc.contributor.author | สุกัญญา แสงเดือน | |
dc.date.accessioned | 2012-10-17T03:33:02Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:57:41Z | - |
dc.date.available | 2012-10-17T03:33:02Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:57:41Z | - |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/675 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้ทั้งต่างประเทศและในประเทศ พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศึกษาผลการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้มาโดยการคัดสรรจากต่างประเทศ จำนวน 23 รูปแบบ จากในประเทศจำนวน 20 รูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 3 ท่าน นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 90 คน ผู้ได้รับความรู้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 135 คน บุคคลทั่วไป จำนวน 180 คน และผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบจำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์การจัดการความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์ฯที่พัฒนาขึ้นแบบประเมินรูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์ฯ แบบประเมินตนเองในการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่ดำเนินการจัดการความรู้ แบบประเมินความรู้เชิงสร้างสรรค์ฯ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อความรู้เชิงสร้างสรรค์ของผู้ได้รับความรู้ และแบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์ฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดการจัดการความรู้ต่างประเทศและในประเทศ พบว่า ด้านกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การกำหนด การสร้างสรรค์ การแบ่งปัน และการประเมิน สำหรับด้านองค์ประกอบ/ปัจจัย/กิจกรรม เกี่ยวข้องกับความรู้ สังคม และปัจจัยอื่น 2. รูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ด้านองค์ประกอบ ประกอบด้วย ความรู้ภายในบุคคล ความรู้ภายนอกบุคคล ความรู้เชิงสร้างสรรค์ สังคม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนด การสร้างสรรค์ การแบ่งปัน และการประเมิน ในแต่ละกระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย 2ก ได้แก่ ก ่อตั้งชุมชนและก่อเกิดความรู้ การสร้างสรรค์ความรู้ ประกอบด้วย 3ส ได้แก่ แสวงหา สร้างสรรค์ และเสริมแต่งการแบ่งปันความรู้ ประกอบด้วย 3บ ได้แก่ บอกเล่า แบ่งปัน และบันทึก และการประเมินผลความรู้ประกอบด้วย 3ป 1ก ได้แก่ เป็นไปได้ ประสบผลสำเร็จ ประดิษฐ์ผลงาน และ การจัดการ 3. ผลการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับ ปริญญาตรี พบว่า 3.1 การประเมินตนเองในการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาที่ดำเนินการจัดการความรู้ (นักศึกษาระดับปริญญาตรี) พบว่า ผลการประเมินตนเองในการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการจัดการความรู้ ทั้ง 3 กลุ่ม มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านระดับความรู้ พบว่า 3.2 การประเมินความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผลการประเมินความรู้เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และมีผลการประเมินในแต่ด้านและทุกหัวข้ออยู่ในระดับดีมาก 3.3 ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี ของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รวม 3 ชั้นปี) ที่มีต่อความรู้เชิงสร้างสรรค์ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับปริญญาตรี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านสร้างความเป็นไปได้ และด้านประดิษฐ์/ออกแบบผลงาน มีความคิดเห็นโดยรวมแต่ละด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านประสบผลสำเร็จด้วยการวางแผน มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก 3.4 ความคิดเห็นที่มีต่ดการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรีของกลุ่มเป้าหมายบคคลทั่วไป พบว่า ความคิดเห็นโดยรวม ของบุคคลทั่วไปที่มีต่อความรู้เชิงสร้างสรรค์ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับปริญญาตรี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านสร้างความเป็นไปได้ พบว่าบุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วน ด้านประสบผลสำเร็จด้านการวางแผน และด้านประดิษฐ์/ออกแบบผลงาน พบว่า บุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก 3.5 การรับรองรูปแบบการจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทำการรับรองรูปแบบในองค์ประกอบ กระบวนการ และขั้นตอนในทุกประเด็นของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญต่อการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | en_US |
dc.language.iso | Th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ | en_US |
dc.title | การจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี | en_US |
dc.title.alternative | Creative Knowledge Management to Creative Society and Economy in Undergraduate Learning | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนร (Full).pdf | การจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี | 9.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.