Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/7
Title: การศึกษาภูมิปัญญาไทยการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ
Other Titles: A Study of Thai Local Wisdom in Using Honey for Health
Authors: ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์
อรทัย สารกุล
Keywords: ภูมิปัญญาไทย
น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี Rajamangala University of Technology Thayaburi (RMUTT)
Abstract: การวิจัยเรื่องการศึกษาภูมิปัญญาไทย การใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ วิเคราะห์คุณค่าทางยาของน้ำผึ้งจากตำราการแพทย์แผนไทย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณ วิธีการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้านการแพทย์แผนไทยในเขต ภาคกลางที่คาดว่าจะใช้น้ำผึ้งในสถานประกอบการ ได้แก่ ผู้ผลิตยาแผนโบราณ ผู้ประกอบการคลินิกแผนโบราณ แพทย์แผนโบราณ/หมอพื้นบ้านที่ไม่เปิดคลินิกและผู้ประกอบการสถานเสริมความงาม/สปา จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรีและเพชรบุรี ใช้ระยะเวลาการเก็บข้อมูล 6 เดือน ผลการศึกษารูปแบบและวิธีการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านการแพทย์แผนไทยมีเหตุผลของการเลือกใช้น้ำผึ้งคือ เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ใช้สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษและใช้ตามตำรายาไทย แต่ในปัจจุบันการเลือกซื้อน้ำผึ้งมีปัญหาในเรื่องการปลอมปนทำให้สรรพคุณของน้ำผึ้งลดน้อยลง รูปแบบการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพที่ผู้ประกอบการยังนิยมใช้กันอยู่คือ ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา แนะนำเป็นอาหารเสริมและบำรุงสุขภาพ ใช้เป็นส่วนประกอบในการเสริมความงามและจำหน่ายน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง การวิเคราะห์ตำรับยาจากตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ จากการรวบรวมและจำแนกตำรับยาที่ใช้น้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบพบตำรับยาในคัมภีร์ต่างๆ สรุปได้ 7 คัมภีร์ และสรรพคุณของยาในตำรับยาแต่ละตำรับ ยาส่วนใหญ่เป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการที่เกี่ยวกับอาการติดเชื้อ ภาวะไข้ การอ่อนเพลียจากอาการเจ็บป่วย บำรุงร่างกาย การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ราย พบว่าผู้ประกอบการด้านการแพทย์แผนไทยที่ศึกษามีการใช้น้ำผึ้งในสถานประกอบการลดน้อยลง ในกลุ่มของผู้ผลิตและขายยาแผนโบราณ ผู้ประกอบการคลินิกแผนโบราณและแพทย์แผนโบราณ แต่ในกลุ่มผู้ประกอบการสถานเสริมความงาม ยังคงมีการใช้น้ำผึ้งอยู่ ความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างกับพฤติกรรม การใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพพบว่า เพศ อายุ การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ โดยเพศหญิงมีพฤติกรรมการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพมากกว่าเพศชาย ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการน้ำผึ้งไปใช้ประโยชน์คือ ผู้ประกอบการที่นำน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ส่วนมาก นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการเสริมความงาม รองลงมาแนะนำให้ลูกค้าใช้เป็นอาหารเสริม และบำรุงสุขภาพ ส่วนอายุพบว่าผู้ประกอบการที่มีอายุ 56 ปีขึ้นไป มีร้อยละของการใช้น้ำผึ้งมากกว่าไม่ใช้ ซึ่งคนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มแพทย์แผนโบราณ/หมอพื้นบ้าน ที่ยังคงใช้น้ำผึ้งเป็นกระสายยาตามตำรายาโบราณที่สืบทอดกันมา ส่วนระดับการศึกษาพบว่า กลุ่มที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไปส่วนใหญ่ไม่ใช้น้ำผึ้งในสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการด้านการแพทย์แผนไทยที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาและการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ใช้น้ำผึ้งมากกว่าไม่ใช้น้ำผึ้ง ทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อการใช้น้ำผึ้ง พบว่าผู้ประกอบการมีทัศนคติที่เป็นเชิงบวกต่อประโยชน์ของน้ำผึ้ง ทัศนคติที่เป็นลบต่อคุณภาพของน้ำผึ้ง และมีทัศนคติที่เป็นกลางต่อราคาของน้ำผึ้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างยังเห็นว่าน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ปัจจุบันคุณภาพของน้ำผึ้งอาจมีปัญหาเนื่องจากพบน้ำผึ้งที่ปลอมปน ในด้านราคา พบว่ากลุ่มตัวอย่างคิดว่าราคาน้ำผึ้งในปัจจุบันยอมรับได้คือ ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป จากการศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อพฤติกรรมการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ พบความสัมพันธ์ของทัศนคติของผู้ประกอบการต่อคุณภาพของน้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ แสดงว่าคุณภาพของน้ำผึ้งมีผลต่อพฤติกรรมการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ This study was aimed to study a variety of patterns and methods in using honey for health, medical properties of honey derived from Thai traditional medical formulas, and factors affecting the selection on the use of honey for health. This was conducted through qualitative and quantitative methodology. For six months, data were collected by means of questionnaires and interviews from the entrepreneurs of Thai traditional medicine, including traditional manufacturers, traditional entrepreneurs, traditional doctors/folk healers without clinic and entrepreneurs of beauty service/spa in the following five provinces in the central part of Thailand: Bangkok, Kanchanaburi, Supanburi, Lopburi, and Petchburi for six months. It was found that the following were the entrepreneurs’ reasons in selecting honey: their belief in the health benefit from honey, the ancestors’ continual use of honey and the Thai medical formulas. The current problem was contamination that devalued the quality of honey. For the patterns of using honey for health, most entrepreneurs favored the use of honey as an ingredient of the formulas, dietary supplement, health food, and cosmetics, as well as distribution of honey and honey products. From formula analysis by means of Tamra Phattaya Sat Song Kroh and other collections of formulas that used honey as an ingredient, seven formula texts and their medical properties were found. Most of these were used for treatment of infection, fever, weakness from illness, and health tonic. It was also found that the entrepreneurs of Thai traditional medicine, traditional manufactures, and traditional doctors reduced the use of honey while the entrepreneurs of beauty service/spa still used it. Concerning the relation between the samples and their behavior in using honey for health, it was found that sex, age, and education were related to the behavior. Female used more honey for health than male while most entrepreneurs used honey as an ingredient for beauty, dietary supplement, and health food, respectively. Most entrepreneurs at the age of 56 or over used honey. Most of these were traditional doctors /folk healers who used honey as an excipient, according to traditional formulas. Concerning education, those with diplomas or higher degrees did not use honey, but the entrepreneurs of Thai traditional medicine with primary and secondary education did. Concerning the attitudes to using honey, the entrepreneurs had positive attitudes to the honey benefit, but negative attitudes to its quality, and neutral attitudes to its price. The samples believed in the usefulness of honey for health. The price was well accepted as it remained the same as usual. The honey quality had an effect on the behavior of using it for health.
Description: การศึกษาภูมิปัญญาไทยการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/7
Appears in Collections:วิจัย (Research - TMC)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
03-06_2547.pdfการศึกษาภูมิปัญญาไทยการใช้น้ำผึ้งเพื่อสุขภาพ1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.