Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/739
Title: | ความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อนโยบายคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก |
Other Titles: | Opinion concerning tax rebate for first-time car of inhabitants in Pathum Thani Province |
Authors: | จิตรา ขอผดุง |
Keywords: | ความคิดเห็นของประชาชน นโยบายคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาเอกการตลาด |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อนโยบายคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไปเป็นผู้ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อของตนเองและมีแนวโน้มที่จะซื้อรถยนต์คันแรกแน่นอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 คนสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเชิงอนุมานใช้ Independent Samples t-test, One-Way ANOVA และ Pearson Chi-Square ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีความคิดเห็นต่อนโยบายอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในด้านมลพิษทางอากาศ การจราจรติดขัด การใช้พลังงานเชื้อเพลิง มีระดับความคิดเห็นต่อเงื่อนไขของนโยบายในภาพรวมในระดับเฉย ๆ มีแนวโน้มการซื้อในระยะเวลา 4-6 เดือน ซื้อเงินผ่อนเป็นเวลา 5 ปีด้วยเงินดาวน์ 21-40 % มีเงินทุนจากสถาบันการเงิน ตัดสินใจซื้อจากตนเอง วัตถุประสงค์การซื้อเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางและหลีกเลี่ยงปัญหาจากการใช้บริการขนส่งมวลชน ซื้อรถยนต์ยี่ห้อ HONDA เหตุผลในซื้อ คือประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และสมรรถนะในการขับขี่ที่ดีและปลอดภัยโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มซื้อรถยนต์ประเภทรถนั่ง (รถเก๋ง) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน อาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านหนี้สินของประชาชน ด้านภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน เพศ อายุสถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านการจ้างงาน ด้านการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ ด้านเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน This independent study was carried out for the purpose of investigating the opinion concerning the tax rebate for the first-time car policy of the inhabitants in Pathum Thani Province. The samples used in the study consisted of 400 inhabitants over 21 years old who had never registered the cars under their names, and had tendency to buy the first-time cars. The questionnaire was used as the data gathering tool, and the data were analyzed using Frequency, Percentage, mean, Standard Deviation, as well as the inferential statistics including Independent Samples t-test, One- Way ANOVA, and Pearson Chi-Square. The result of study demonstrated that the respondents expressed their opinion concerning the policy on air pollution, traffic jam, and fuel consuming at a high level, however, the opinion toward the overall policy conditions was shown at a moderate level. The respondents had a tendency to buy the first-time car within 4-6 months, needed 5 years hire-purchase with a 21-40% down payment, sought funds from financial institutes, made buying decision on the first-time car by themselves. The reasons to buy the first-time car were for travel convenience, and avoiding the problems of using mass transportation, moreover, the respondents intended to buy Honda cars for the reasons of the engine efficiency, capacity and safety respectively, moreover, the majority of the respondents had a tendency to buy the private cars. The result of hypothesis testing showed that different gender, age, marital status monthly income, and occupation caused different opinions toward the people’s debts, and rising burden of spending. Different gender, age, marital status, monthly income, occupation, and level of education caused different opinions toward more hiring jobs, the growth of automobile industries and more money in circulation in the economic system. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/739 |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
124318.pdf | Opinion concerning tax rebate for first-time car of inhabitants in Pathum Thani Province | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.