Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/850
Title: ลักษณะนวัตกรรมของสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก : กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Innovation Characteristics of Facebook Influencing Behaviors of Facebook Users: A Case Study of Undergraduate Students at Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: จินตนา จันทะวงศ์
Keywords: กลุ่มสนทนาออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์ -- พฤติกรรม
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
Abstract: การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะนวัตกรรมของ สังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ วิธีการศึกษาทำการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจำนวน 390 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ใช้ไคสแคว์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาการจัดการ ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 มีรายได้ต่อเดือน 6,001 - 9,000 บาท ที่พักอาศัยส่วนใหญ่อยู่หอพัก อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก คือ คอมพิวเตอร์ส่วนตัวและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประสบการณ์ที่ใช้สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 1 - 2 ปี ภาพรวมของระดับความคิดเห็นที่มีต่อลักษณะนวัตกรรมของสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับ คือ คุณลักษณะสามารถสังเกตได้ ความยุ่งยากซับซ้อน ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ การเข้ากันได้ และ สามารถทดลองใช้ได้ ระยะเวลาการใช้สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 3 - 4 ชั่วโมง จำนวนครั้งที่ใช้ 1 - 2 ครั้ง/วัน ผลจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า รายได้ต่อเดือน อุปกรณ์หลักที่ใช้การติดต่อความสะดวกในการใช้งาน รับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว การโพสต์ข่าวสารทำได้ง่าย มีแอพพลิเคชั่นให้ทดลองใช้ก่อนเปิดใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการใช้งาน และ สาขา รายได้ต่อเดือนความสะดวกในการใช้งาน มีแอพพลิเคชั่นให้ทดลองใช้ก่อนเปิดใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งที่ใช้สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก
The purpose of this independent study was to study and analyze the characteristics of innovation of Facebook and behaviors of Facebook users. The samples consisted of 390 participants, and data collection was conducted by using the questionnaire. Descriptive statistics used for data analysis included Mean, Standard Deviation, Frequency, and Percentage. For inferential statistics, Chi- Square was used while data processing was done by using the statistical software. The results revealed that the majority of the participants were female and also sophomores in the Department of Management. The average monthly income ranged from 6,001 to 9,000 Baht, and most of their living places were in dormitory. The main equipments used for communicating through Facebook were personal computers and mobile phones. Besides, these participants had experience in using Facebook for one to two years. The overall level of opinion toward innovation characteristics of Facebook was at high level. By ranking in descending order, the highest level was from observable characteristic, followed by complexity, comparison benefit, compatibility, and ability to test. Moreover, duration in using Facebook was approximately 3 to 4 hours for about one to two times per day. Due to hypothesis testing, the result showed that monthly income, main equipments used for communication, convenience of use, fast awareness of news, ease of news posting, and available free-trial applications were related to duration of use. Furthermore, departments, monthly income, convenience of use, and free-trial applications were also related to times in using Facebook.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/850
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124384.pdfลักษณะนวัตกรรมของสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก : กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.