Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2225
Title: การลดข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปุ่มฉุกเฉินโดยใช้หลักการ DMAIC กรณีศึกษา : ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
Other Titles: Defect reduction for emergency knob product by DMAIC approach : a case study of automotive part manufacturer
Authors: ธนรัตน์ เอี่ยมเจริญ
Keywords: หลักการ DMAIC
DMAIC approach
ชิ้นส่วนรถยนต์
automotive part
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจุดดำที่เกิดขึ้นในกระบวนการฉีดขึ้นรูปปุ่มฉุกเฉินในรถยนต์ โดยการประยุกต์ใช้การบริหารคุณภาพตามหลักการ DMAIC จากข้อมูลในอดีตพบว่า ปุ่มฉุกเฉินในรถยนต์ซึ่งเป็นโมเดลตัวอย่างเกิดปัญหาจุดดำ จากการดำเนินงานภายในองค์กรมากถึงร้อยละ 3.88 และจำนวนการร้องเรียนของลูกค้าคิดเป็นร้อยละ 0.22 ของจำนวนการผลิตทั้งหมด ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามหลักการ DMAIC โดยเริ่มจากขั้นตอนการระบุปัญหาได้ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาใน 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการล้างหม้ออบ กระบวนการล้างวัตถุดิบที่ค้างอยู่ กระบวนการตั้งพารามิเตอร์เครื่องจักร และกระบวนการตรวจสอบชิ้นงาน 100% จากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้แผนผังต้นไม้ และวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงด้วยการทดสอบสมมติฐาน และการประเมินความสามารถของระบบการวัดแบบข้อมูลนับ เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้ว จึงทำการปรับปรุงโดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง สุดท้ายคือขั้นตอนการควบคุม โดยการจัดทำมาตรฐานการงานให้กับกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานั้นซ้ำขึ้นอีก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริหารคุณภาพตามหลักการ DMAIC สามารถลดปัญหาจุดดำของกระบวนการฉีดขึ้นรูปปุ่มฉุกเฉินในรถยนต์จากร้อยละ 3.88 เหลือร้อยละ 0.92 และจำนวนการร้องเรียนของลูกค้าจากร้อยละ 0.22 เหลือร้อยละ 0.01 ของจำนวนการผลิตทั้งหมด ส่งผลให้สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับสายการผลิตตัวอย่าง และสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้า อันจะนำไปสู่ยอดขาย และผลกำไรที่ดีขึ้นในอนาคต
The objective of this research is to solve a black dot problem of an automobile emergency knob product in the injection molding process by applying the principle of quality management, DMAIC approach. From the historical data, it indicated that there was the black dot problem found in the automobile emergency knob production up to 3.88% while the numbers of the customer complaints were also found at 0.22% of the total production. The research methodology consisted of five steps according to DMAIC approach. First, the black dot problem was clearly identified the root cause of the problem in four processes; hopper washing process, material purging process, machine parameters setting process and 100% inspection process. Second, the tree diagram and hypothesis testing were used to identify and analyze the exact cause of problem. The attribute gage study was also used to evaluate the measurement system performance and then the production system was improved by using design of experiment technique. Finally, the work standard was established to control the manufacturing process. The results showed that by applying the principle of quality management based on DMAIC approach, the black dot problem of the automobile emergency knob product in the injection molding process can be reduced from 3.88% to 0.92% whereas the numbers of the customer complaints were also decreased from 0.22% to 0.01%.In conclusion the productivity was increased and created a good image to customers. Which bring sales and profits in the future.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2225
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143610.pdfการลดข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปุ่มฉุกเฉินโดยใช้หลักการ DMAIC กรณีศึกษา : ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์44.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.