Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2548
Title: | การศึกษาเสถียรภาพสภาวะชั่วครู่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวของแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า ในกรณีจ่ายไฟแบบแยกตัวอิสระ |
Other Titles: | A study on transient stability for distributed generator of VSPP Interconnected power system in islanding model of operation |
Authors: | วชิรา เขจรสัตย์ |
Keywords: | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัว การจ่ายไฟแบบแยกตัวอิสระ เสถียรภาพสภาวะชั่วครู่ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า. |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอการศึกษาเสถียรภาพชั่วครู่ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า ในกรณีจ่ายไฟแบบแยกตัวอิสระของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 10 MW ซึ่งต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของสถานีไฟฟ้านครนายก 2 จำนวน 27 บัส
การวิเคราะห์เสถียรภาพสภาวะชั่วครู่ในวิทยานิพนธ์ใช้วิธีเงื่อนไขพื้นที่เท่ากัน เพื่อหามุมวิกฤตและค่าเวลาวิกฤตของการกำจัดความผิดพร่องเพื่อให้เครื่องกำเนิดอยู่ในเสถียรภาพ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณในการจำลอง กรณีที่เกิดความผิดพร่องสามเฟสที่บริเวณตำแหน่งบัสที่ทดสอบ
ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงเมื่อจำลองความผิดพร่องเกิดที่บริเวณบัสที่ทดสอบ มุมวิกฤตและเวลาวิกฤตการกำจัดความผิดพร่องซึ่งมีความสัมพันธ์แปรผันตามกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าอิมพิแดนซ์บริเวณตำแหน่งที่เกิดความผิดพร่อง การประยุกต์สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันที่บริเวณจุดเริ่มต้นและจุดแยกของสายส่ง บริเวณพื้นที่ดังกล่าว เวลาวิกฤตการกำจัดความผิดพร่องที่บัส 24 คือ 0.30 วินาที บัสที่ 20 คือ 0.35 วินาที และบัสที่ 25 คือ 0.15 วินาที ตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์สามารถไปประยุกต์เป็นแนวทางในการวางแผนวิเคราะห์การจ่ายไฟได้ หากสามารถจ่ายไฟแบบแยกตัวอิสระได้อย่างมีเสถียรภาพและมีคุณภาพไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้าและลดมูลค่าความเสียหายเนื่องจากไฟฟ้าดับได้อีกทางหนึ่ง This thesis presents a study on transient stability for distributed Generator of very small power producer interconnected power system in islanding model of operation at Khundanprakanchon dam, Nakhonnayok province. The installation capacity is 10 MW connected to Nakhonnayok2 substation of Provincial Electricity Authority. The total bus number is 27 buses which are considered in this study. The analysis of transient stability in this thesis is use the equal area criterion in order to find the critical angle and critical clearing time to remove of faults for distributed generator. The studies are carried out using MATLAB/SIMULINK program. The simulation results show that the rotor angle is changed by fault in distribution line. The critical angle and critical clearing time are also changing which is direct proportion depend on line impedance. The application of protective installation at starting point and the node point distribution line the critical clearing time at bus number 24 is 0.30 second, bus number 20 is 0.35 second and bus number 25 is 0.15 second respectively. The results of the analysis can be adapted to help for electrical power planning scheme. If the power is distributed under islanding condition with limitation of stability and quality, then the reliability of power system could be satisfied and also able to reduce the impact of power outage. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2548 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146393.pdf | A study on transient stability for distributed generator of VSPP Interconnected power system in islanding model of operation | 7.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.