Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2974
Title: องค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
Other Titles: Learning Organization for Supporting ASEAN Community of Burapha University Sakaeo Campus
Authors: ชนาภรณ์ แตงหมี
Keywords: องค์กรแห่งการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาเขตสระแก้ว
ประชาคมอาเซียน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการบัญชี.
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ศึกษาผลลัพธ์ที่ได้จากการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เหมาะสม พร้อมรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน โดยมีวิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มบุคลากร แบบสอบถามจำนวน 72 ชุด และกลุ่มนิสิต แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด สถิติที่ใช้ใน การศึกษาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Correlation องค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เพื่อรองรับประชาคม อาเซียน สามารถชี้วัดได้จาก 7 ปัจจัย คือ ความสามารถส่วนบุคคล การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม วัฒนธรรมองค์กรส่งเสริมการเรียนรู้ ภาวะผู้นำ การสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเปิดกว้าง ต่อสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 โดยมีค่า เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.703 ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือความสามารถส่วนบุคคล ปัจจัยที่มี อิทธิพลน้อยที่สุด คือ ภาวะผู้นำ ในขณะที่กลุ่มของนิสิต มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.01 โดยมีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.660 ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อย ที่สุด คือ การเปิดกว้างต่อสภาพแวดล้อม ในภาพรวมพบว่า ปัจจัยทุกตัวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับมากและไม่มีความต่างต่างกันระหว่าง กลุ่มบุคลากรและกลุ่มนิสิต ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย ความพึงพอใจ ของนิสิต ความพึงพอใจของบุคลากร ผลลัพธ์ทางด้านการเรียนรู้ และผลลัพธ์ทางด้านการเตรียมพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน จากการศึกษาพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในภาพรวมของกลุ่มบุคลากรมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.21โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.833 ปัจจัยที่มีอิทธิพล มากที่สุด คือความพึงพอใจที่มีต่อองค์กร ในขณะที่กลุ่มของนิสิต ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.02 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.705 และปัจจัยมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดของทั้งสองกลุ่ม คือ ด้านการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ระยะเวลาการจ้างงาน ผลการวิจัยยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกกับผลลัพธ์ที่ได้จากการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในระดับที่สูงมาก โดย ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน
The objectives of this research were to study the factors influencing the development of learning organization of Burapha University, Sakaeo Campus, to evaluate the outcomes of being a learning organization, and to provide helpful suggestions for improving the learning organization and making preparations for the ASEAN community. This research was a combination of quantitative and qualitative research. As for the quantitative part, the questionnaire was used as a tool for data collection. The respondents were 72 of administrators, lecturers and academic staff, and 300 of students. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and correlation. As for the qualitative part, the received information was analyzed by content analysis. The results indicated that the factors having an influence on learning organization development were personal ability, team learning, organizational culture which promoted learning, leadership, shared vision, openness to the surrounding environment, information and communication technology for learning. All factors mentioned above had a high level of influence on learning organization development. In addition, there was no difference between the staff and the student groups. For the staff group, the overall average of factors influencing the learning organization was 4.37 with a standard deviation of 0.703. The most influential factor was the personal ability while the least influential factor was leadership. For the student group, the overall average was 4.01 with a standard deviation of 0.660. The most influential factor for this group was team learning, and openness to the surrounding environment was the least influential factor. The results received from learning organization development were satisfaction of student and staff, learning outcomes, and outcomes of preparations for the ASEAN community. The resultalso showed that the outcome of being organization of learning was found at a high level. However, there was no difference between the staff and the student groups. For the staff group, the overall average was 4.21 with a standard deviation of 0.833, and the most influential factor was the satisfaction in their work. For the student group the overall average was 4.02 with a standard deviation of 0.705, and the most influential factor was learning. The least influential factor was the preparations for the ASEAN community in both groups. Personal factor which affected the operation of learning organization was duration of employment. The factors having an influence on learning organization development had a positive relationship with the outcomes received from learning organization development at a high level, and there was no difference between both groups.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2974
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-154597.pdfLearning Organization for Supporting ASEAN Community of Burapha University Sakaeo Campus7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.