Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3019
Title: | การลดของเสียในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยเทคนิคการออกแบบการทดลอง |
Other Titles: | Reduction of Deformation in Mobile Phone Display Component Assembly Process by Design of Experiments Technique |
Authors: | วิทยา, สุมะลิ |
Keywords: | การเสียรูปของกรอบยึด การออกแบบการทดลอง แพ็คเกจ เบอร์แมน 3[superscript k] แฟคทอเรียล |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อลดการเสียรูปของกรอบยึดในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติและการออกแบบการทดลอง
ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการใช้แผนภูมิเหตุและผลวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้
ที่ส่งผลต่อการเสียรูปของกรอบยึด การระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญและพิจารณาเลือกปัจจัยที่มีลำดับ
ความสำคัญ 5 ลำดับแรกมาทำการศึกษาและวิเคราะห์หาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานด้วยการออกแบบการทดลองแบบ แพ็คเกจ เบอร์แมน ปัจจัยที่ทำการศึกษาทั้ง 5 ปัจจัยได้แก่ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่นรอง, องศาของมุมแท่นรอง, องศาของทิศทางแผ่นฟิล์มหลังจากการแยกจากกรอบยึด, ระยะกรอบยึดที่ยืดออกจากแท่นรองเพื่อรอหัวจับหยิบ และระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึด
ผลการทดลองจาก แพ็คเกจ เบอร์แมน พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเสียรูปของกรอบยึดที่ระดับ
นัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่นรองและระยะความสูงที่หัว
จับหยิบกรอบยึด หลังจากนั้นนำปัจจัยทั้ง 2 พิจารณาด้วยการออกแบบการทดลองแบบ 3[superscript k]แฟคทอเรียลโดยกำหนดปัจจัยเป็น 3 ระดับคือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่นรองที่ระดับ 100.0 mm/s, 120.0 mm/s,140.0 mm/s และระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึด 0.025 mm, 0.035 mm,0.045 mm ผลจากการวิเคราะห์พบว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดคือที่ระดับความเร็วในการเคลื่อนที่ของกรอบยึดออกจากแท่นรองเท่ากับ 140.0 mm/s และที่ระยะความสูงที่หัวจับหยิบกรอบยึดเท่ากับ 0.045 mmสามารถลดปริมาณของเสียจากเดิมร้อยละ 8.65 เหลือเพียงร้อยละ 3.29 ส่งผลให้สามารถลดมูลค่าความสูญเสียได้ร้อยละ 5.25 The objective of this research was to reduce the deformation of shading sheets in the mobile phone display component assembly process with the application of statistical process control and by designing experiment techniques. The research methodology began with identifying the possible root causes of deformation by employing a cause-and-effect diagram and experts’ brainstorming. The top five important factors were selected and analyzed by the Plackett-Burman experimental design. The five factors studied in this research included the feeding speed of the pickers, the angle of the edge of the feeding table, the angle of the plate from the feeding table, the distance of the shading sheet from the edge of the feeding table, and the gap between the pickers and the feeding table. The results obtained from the analysis employing the Plackett-Burman design illustrated that only two factors, the feeding speed of the pickers and the height between the pickers and the feeding table, had a statistically significant impact on deformation at a significant level of 0.05. Then 3[superscript k] factorial design with the response optimizer was consequently applied to analyze the feeding speed of the pickers at 100.0, 120.0, 140.0 mm/s and the gap between the pickers and the feeding table at 0.025, 0.035, 0.045 mm. The optimal level of the feeding speed of the pickers and the optimal gap between the pickers and the feeding table were 140.0 mm/s and 0.045 mm. respectively. After the implementation, the deformation of shading sheets decreased from 8.65% to 3.29%, leading to the company’s reduction of loss value by 5.25%. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3019 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-155511.pdf | Reduction of Deformation in Mobile Phone Display Component Assembly Process by Design of Experiments Technique | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.