Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3241
Title: การควบคุมคุณภาพในกระบวนการประกอบที่ปัดน้ำฝนโดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกม่า ในบริษัทผลิตรถยนต์แห่งหนึ่ง
Other Titles: Manufacturing Quality Control of Part of Wiper Using Six Sigma Technique in an Automotive Company
Authors: บวรภพ หลงชิน
Keywords: ซิกซ์ ซิกม่า
การควบคุมคุณภาพในกระบวนการประกอบที่ปัดน้ำฝน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจ.วิชาเอกการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประกอบที่ปัดน้ำฝนที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพของที่ปัดน้ำฝน เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพของที่ปัดน้ำฝนในรถยนต์ อันส่งผลกระทบทาให้ปัดน้ำฝนไม่สะอาด ในกระบวนการประกอบที่ปัดน้ำฝนในรถยนต์ เพื่อให้ความสามารถของกระบวนการระยะยาว (P[Subscript pk]) ได้ตามมาตรฐานที่ 1.33 โดยนำหลักการของซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้ จากการนำหลักการซิกซ์ ซิกม่า มาประยุกต์ใช้ในการการควบคุมคุณภาพในกระบวนการประกอบที่ปัดน้ำฝนในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการระยะยาว (P[Subscript pk]) โดยได้ทำ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนระบุปัญหา การวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง ซึ่งผลการวิเคราะห์ พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหามุมองศาที่ปัดน้ำฝนได้แก่มุมองศาที่ปัดน้ำฝนของชิ้นงานจากซัพพลายเออร์ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญจากการทดลองทำ DOE (Design of Experiment) ได้แก่ มุมองศาที่ปัดน้ำฝนของชิ้นงานจากซัพพลายเออร์ โดยจากการทดลองปรับค่ามุมองศาของชิ้นงานจากซัพพลายเออร์จากค่าเฉลี่ย 4.36 เป็น 3.65 สามารถทำให้ค่าเฉลี่ยมุมองศาของที่ปัดน้ำฝนบนรถยนต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับค่ากลางของค่ามาตรฐานการควบคุมคือ 4.8 องศา (มาตรฐาน 4.8 องศาบวก 3 องศา และลบ 3 องศา) ซึ่งจะทำให้ค่าขีดความสามารถของกระบวนการระยะยาว (P[Subscript pk]) เพิ่มขึ้น
The purpose of this independent study were to study the assembly process of wipers, analyze factors that affected the wiper attack angle of vehicles, and improve assembly process to increase the performance process capability (P[Subscript pk]) in order to meet the target of 1.33 P[Subscript pk] by implementing Six Sigma technique. The six sigma technique, used to increase the performance process capability, was composed of 1) Identifying problems, 2) Measurement, 3) Analysis and 4) Improvement. The analysis results showed that the main factor of the wiper attack angle in vehicles was the wiper twist angle from suppliers. Based on DOE (Design of Experiment), the wiper twist angle from suppliers was the significant factor. When adjusting its average parameter from 4.36 to 3.65, the average degree of wiper attack angle was equal to 4.8 degrees of the nominal control rate (the standard of 4.8 degrees plus 3 degrees and minus 3 degrees). This led to an increase of the performance process capability.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3241
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT158654.pdfManufacturing Quality Control of Part of Wiper Using Six Sigma Technique in an Automotive Company5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.