Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3509
Title: มาตรวัดการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และความไว้วางใจของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Perceived Scale of Organizational Justice and Trust among Employees in the Electronics Factories in Pathum Thani Province
Authors: จิรสุดา สุขสำอางค์
Keywords: มาตรวัด
ความยุติธรรม
ความไว้วางใจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและความไว้วางใจของพนักงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใน จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและความไว้วางใจของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็น พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใน จังหวัดปทุมธานี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้สัมภาษณ์รายบุคคลแบบเชิงลึกจำนวน 8 คน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างจำนวน 325 คน เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำมาสรุปโดยการสังค์เคราะห์บทสัมภาษณ์ผนวกกับแนวคิดทฤษฎีเพื่อมากำหนดเป็นข้อคำถาม 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบ (Rating scale Questionnaire) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.968 ในส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบแบบจาลองโครงสร้างด้วย การยืนยันองค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ และความไว้วางใจ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ สมการโครงสร้างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าไค-สแควร์ (X[superscript2]) เท่ากับ 88.813 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 69, p-value เท่ากับ 0.054 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.968 และโครงสร้างความไว้วางใจมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดย ค่าไค-สแควร์ (X[superscript2]) เท่ากับ 25.891 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 18, p-value เท่ากับ 0.102 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.954
The purposes of this study were to 1) investigate perceived organizational justice and trust among employees in the electronics factories in Pathum Thani Province and 2) confirm the constructs of perceived organizational justice and trust among the employees in the electronics factories in Pathum Thani Province. The samples in this study included the employees in the electronics factories in Pathum Thani Province. The qualitative research was carried out using in-depth interviews with eight employees. Also, the quantitative research was conducted with 325 employees selected by simple random sampling. The research instruments in this study were 1) in-depth interviews in which the data from the interviews were concluded and synthesized with theories in order to formulate the question items, and 2) rating scale questionnaires with the reliability level of 0.968. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation and Confirmatory Factor Analysis. The results showed that the perceived organizational justice consisted of three elements while the trust was comprised of two elements. The structural equation of the perceived organizational justice was in accordance with the empirical data. Chi-square (X[superscript2]) was 88.813 with 69 degrees of freedom (df), p-value = 0.054, GFI = 0.968. The structure of trust was in accordance with the empirical data. Chi-square (X[superscript2]) was 25.891 with 18 degrees of freedom (df), p-value = 0.102, GFI = 0.954.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3509
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-161652.pdfPerceived Scale of Organizational Justice and Trust among Employees in the Electronics Factories in Pathum Thani Province3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.