Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3720
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุน และกองทุนรวมอีทีเอฟ |
Other Titles: | Factors influencing return of equity funds and exchange traded funds |
Authors: | ธนพร มีศิลป์ |
Keywords: | กองทุนรวม อัตราผลตอบแทน เงินปันผล กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมอีทีเอฟ Mutual funds Rate of return Dividends Equity fund Exchange traded funds |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาการเงิน |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของกองทุนประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน และการศึกษาเปรียบเทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนรวมอีทีเอฟ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กองทุนรวมจำนวน 101 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมตราสารทุนจำนวน 91 กองทุน และเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ จำนวน 10 กองทุน ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของ 17 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน การเก็บข้อมูลทางการเงินมาจากรายงานประจำปี งบการเงิน หนังสือชี้ชวนการลงทุน และเว็บไซต์สถิติมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมของ Thai Mutual Fund ข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ถึง เดือนธันวาคม 2560 เป็นระยะเวลา 42 เดือน เท่ากันทุกกองทุน สถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบ One-way ANOVA การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวม คือ การจ่ายเงินปันผล และความเสี่ยงที่เป็นระบบ หากพิจารณาแยกตามประเภทของกองทุนรวมจะมีความเสี่ยงที่เป็นระบบเพียงปัจจัยเดียวที่มีความความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนรวมอีทีเอฟ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน จากการใช้ Sharpe ratio เป็นเครื่องมือที่นำความเสี่ยงรวมมาใช้ในการวิเคราะห์ พบว่า กองทุนรวมอีทีเอฟมีการบริหารจัดการกองทุนรวมที่ดีกว่า เพราะมีผลตอบแทนของกองทุนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด ขณะที่ Treynor ratio ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พิจารณาเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นระบบแสดงผลที่ตรงข้าม สะท้อนอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุนมีค่าสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด และ Jensen model เป็นเครื่องมือที่เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของกองทุนกับอัตราผลตอบแทนที่ควรจะเป็นตามหลักทฤษฏี CAPM พบว่าผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุน มีการบริหารกองทุนรวมให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมมีค่าสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด โดย Treynor ratio และ Jensen model ให้ผลการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกันที่ผลการบริหารจัดการของกองทุนรวมตราสารทุนมีผลการดำเนินงานที่สูงกว่าตลาด The purposes of this research were to study the factors influencing the mutual fund return and the efficiency of fund management, and to compare the returns with risks of equity funds and exchange traded funds (ETFs). The samples in this study were 101 funds consisting of 91 equity funds and 10 ETFs under the supervision of 17 asset management companies. The data were collected from financial annual reports, financial statements, investment prospectus, and Thai Mutual website providing Net Asset Value statistics from February 2013 to December 2017, for 42 months. The statistics employed data analysis were descriptive statistics, independent samples t-test, one-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient analysis, and multiple regression analysis. The research results indicated that the factors influencing the mutual fund return were the dividend payment and systematic risk. When considering each mutual fund categories, it revealed that there was only one factor related to the rate of return on equity funds and ETFs at the statistically significant level of 0.01. When considering the efficiency of fund management by the Sharpe Ratio, the tool using total risk for data analysis, it revealed that ETFs had higher fund management efficiency because their return was higher than the rate of market return, while the Treynor ratio, the tool for considering the systematic risk, showed the opposite results reflecting that the rate of return on equity funds was higher than that of market return. The Jensen model, the tool for comparing rate of mutual fund return and the rate of possible return by CAPM, revealed that the performance of the equity fund management provided higher rate of return on equity than that of market return. The results from Treynor ratio were in accord with Jensen model: the performance of equity fund management provided higher return than the market return. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3720 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-167596.pdf | Factors influencing return of equity funds and exchange traded funds | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.