Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1788
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วุฒิพล จันทร์สระคู | |
dc.contributor.author | ธนกฤต โยธาทูล | |
dc.contributor.author | ประยูร จันทองอ่อน | |
dc.contributor.author | กลวัชร ทิมินกุล | |
dc.contributor.author | พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ | |
dc.date.accessioned | 2014-09-15T03:09:43Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:36:26Z | - |
dc.date.available | 2014-09-15T03:09:43Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:36:26Z | - |
dc.date.issued | 2013 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1788 | - |
dc.description.abstract | การผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันยังเป็นปัญหาการไม่มีตลาดรับซื้อรองรับ มีเพียงพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเพื่อส่งต่อยังโรงงานสกัดน้ำมันที่ จ.ชลบุรี เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มบางส่วนเลือกที่จะไม่ตัดปาล์มขายเพราะว่าไม่คุ้มทุน บางพื้นที่มีความพยายามในด้านการแปรรูปโดยการสกัดน้ำมันปาล์มดิบหรือเพื่อผลิตไบโอดีเซล แต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงซึ่งไม่เหมาะกับเทคโนโลยีที่เกษตรกรรายย่อยจะสามารถกระทำได้ การแยกผลปาล์มออกจากทะลายก่อนที่จะนำไปแปรรูปต่อไป สำหรับเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรใช้ในการลดค่าขนส่ง เพิ่มราคาจำหน่ายผลปาล์ม และสำหรับโรงงานสกัดน้ำมันขนาดเล็กที่ต้องแยกผลปาล์มออกจากทะลายก่อนที่จะสกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาเครื่องปลิดผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มน้ำมันที่ปลูกในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเครื่องต้นแบบมีส่วนประกอบหลักคือ ถังเหล็กทรงกระบอกหนา 3 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร ความสูง 120 เซนติเมตร ภายในถังจะมีซี่แยกทำจากเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 มิลลิเมตร ติดอยู่โดยรอบ สามารถปรับความยาวซี่แยกได้ถังยึดติดกับโครงเครื่อง ส่วนฐานหมุนเป็นแบบกรวยปากตัด และหมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า 220 โวลต์ สลับทิศทางหมุนได้ ทำงานโดยเหวี่ยงทะลายปาล์มกลิ้งกระแทกกับซี่แยกผลปาล์มจะถูกซี่แยกปลิดออกจากทะลายร่วงหล่นลงช่องระหว่างถังกับฐานหมุนเหวี่ยงลงสู่รางรองรับ ตะแกรงโยก และคัดแยกทำความสะอาดด้วยพัดลมเป่าสิ่งเจือปนออกไปส่วนก้านทะลายเปล่าจะถูกหมุนเหวี่ยงออกทางช่องเปิดด้านข้างของถัง ผลการทดสอบกับทะลายปาล์มน้ำมันสดหลังการเก็บเกี่ยวและแยกกองทิ้งไว้ในร่มเป็นเวลา 1, 3 และ 5 วัน ที่ความยาวซี่แยก 4, 5 และ 6 เซนติเมตร ความเร็วรอบของฐานหมุนเหวี่ยง 70, 85 และ 100 รอบ/นาที ที่อัตราการป้อนทะลายปาล์มน้ำมันจำนวน 3-4 ทะลายต่อครั้ง ผลการทดสอบพบว่า ที่ความยาวซี่แยก 5 เซนติเมตร ความเร็วรอบ 85 รอบ/นาที มีความสามารถในการทำงาน 1.0-1.3 ตัน/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการแยกผลปาล์มออกจากทะลายได้ 93-97% สำหรับทะลายปาล์มสดที่กองทิ้งไว้ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป โดยเครื่องที่พัฒนามีศักยภาพต่อการขยายผลในเชิงการค้าในการแยกผลร่วงสำหรับการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering | en_US |
dc.subject | เครื่องปลิด | en_US |
dc.subject | ทะลายปาล์ม | en_US |
dc.subject | ผลปาล์มร่วง | en_US |
dc.title | การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลิดผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TAM-19 p284-288.pdf | การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลิดผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 544.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.