Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1799
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิธิ ด้วงผึ้ง | |
dc.contributor.author | สมชาย ชวนอุดม | |
dc.date.accessioned | 2014-09-24T08:20:18Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:36:11Z | - |
dc.date.available | 2014-09-24T08:20:18Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:36:11Z | - |
dc.date.issued | 2013 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1799 | - |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันเครื่องเกี่ยวนวดข้าวกำลังมีบทบาทสำคัญและใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เพราะการใช้งานเครื่องเกี่ยวนวดข้าวมีโอกาสช่วยลดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายรวมไปถึงแรงงานที่ใช้ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความสูญเสียที่เกิดการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่นั้นเป็นความสูญเสียจากชุดนวด ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับมุมครีบวงเดือน ที่ผ่านมาได้มีรูปแบบการปรับมุมครีบวงเดือนที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่การศึกษาหารูปแบบมุมครีบวงเดือนที่เหมาะสมยังค่อนข้างน้อย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบมุมครีบวงเดือนที่มีต่อสมรรถนะในการนวดของชุดนวดข้าวแบบไหลตามแกน โดยการทดสอบกับชุดทดสอบการนวดของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีความชื้นเมล็ดและฟางเฉลี่ยเท่ากับ 28.3 และ 51.8 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก ตามลำดับ อัตราส่วนเมล็ดต่อฟางโดยน้ำหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 0.61 ความยาวฟางเฉลี่ยเท่ากับ 52 เซนติเมตร การศึกษาผลของรูปแบบมุมครีบวงเดือนที่มีผลต่อสมรรถนะในการนวดของชุดนวดข้าวแบบไหลตามแกน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบมุมครีบวงเดือนที่ทำการศึกษามีผลต่อปริมาณเมล็ดแตกหักไม่แตกต่างกันในทางสถิติ แต่มีผลต่อความสูญเสียจากชุดนวดและกำลังงานที่ใช้ในการนวดอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ รูปแบบมุมครีบวงเดือนของชุดนวดข้าวแบบไหลตามแกนของเครื่องเกี่ยวนวดข้าว ควรใช้รูปแบบมุมครีบวงเดือนที่มีมุมครีบวงเดือนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอคือมุม 69, 71, 73, 75 และ 77 องศาจากแนวเพลาลูกนวด ตามลำดับ เพราะทำให้มีความสูญเสียจากชุดนวดอยู่ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ และกำลังงานที่ใช้ในการนวดอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก เมื่อใช้ความเร็วลูกนวดเท่ากับ 18 เมตรต่อวินาที และอัตราการป้อนเท่ากับ 16 ตันต่อชั่วโมง และทดสอบกับข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering | en_US |
dc.subject | เครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทย | en_US |
dc.subject | มุมครีบวงเดือน | en_US |
dc.subject | ความสูญเสียจากชุดนวด | en_US |
dc.subject | กำลังงานในการนวด | en_US |
dc.title | ผลของรูปแบบมุมครีบวงเดือนที่มีต่อสมรรถนะในการนวดของชุดนวดข้าวแบบไหลตามแกน | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TAM-38 p361-368.pdf | ผลของรูปแบบมุมครีบวงเดือนที่มีต่อสมรรถนะในการนวดของชุดนวดข้าวแบบไหลตามแกน | 606.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.