Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1806
Title: การใช้ประโยชน์น้ำมันสกัดจากเปลือกส้มเพื่อเป็นน้ำมันไอโอดีเซล
Authors: พูนวิทย์ รักงาม
พงษ์รวี นามวงศ์
ดามร บัณฑุรัตน์
ณัฐวุฒิ เนียมสอน
วิบูลย์ ช่างเรือ
Keywords: น้ำมันเปลือกส้ม
น้ำมันดีเซล
อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน
ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องยนต์
Issue Date: 2013
Publisher: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering
Abstract: การคั้นน้ำส้มมีกากทิ้งประมาณ 50% ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเปลือกส้มประมาณ 20% งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะนำเอาเปลือกส้มที่เหลือทิ้งมาสกัดเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) เปรียบเทียบการสกัดน้ำมันด้วยวิธีทางกลและทางเคมี 2) ศึกษาคุณสมบัติน้ำมันที่ได้จากการผสมน้ำมันเปลือกส้ม (O100) กับน้ำมันดีเซล (D100) ในสัดส่วน 5:95, 10:90, 15:85 และ 20:80 (O5, O10, O15 และ O20) โดยปริมาตร และ 3) ศึกษาสมรรถนะของเครื่องยนต์เมื่อใช้สัดส่วนการผสมน้ำมันที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันจากเปลือกส้มไม่สามารถสกัดด้วยเครื่องอัดแบบเกลียวอัด (Screw press) ส่วนการสกัดโดยใช้เฮกเซน (Hexane) เป็นตัวทำละลาย ได้น้ำมันเปลือกส้มออกมาในปริมาณประมาณ 40 มิลลิเมตรต่อเปลือกส้ม 1 กิโลกรัมที่ความชื้นของเปลือกส้ม 78% (wet basis) สำหรับส่วนผสมน้ำมันเปลือกส้มกับน้ำมันดีเซลเมื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติ โดยทำการเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ ซึ่งพบว่าค่าพลังงานความร้อนของ O5, O10, O15, O20 และ D100 มีค่าไม่ต่างกัน ค่าความหนืดที่อุณหภูมิ 40 C พบว่า O5 และ O10 มีค่าสูงกว่า D100 ส่วน O15, O20 และ O100 มีค่าต่ำกว่า D100 ค่าจุดวาบไฟและจุดไหลเทพบว่า O5, O10, O15, O20 และ O100 มีค่าต่ำกว่า D100 ส่วนความถ่วงจำเพาะ ค่าความเป็นกรดและค่าความร้อน พบว่า O5, O10, O15, O20 และ O100 มีค่าสูงกว่า D100 สำหรับการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ แบบ 1 สูบ ขนาดความจุกระบอกสูบ 406 ลบ.ซม. ห้องเผาไหม้ตรง (direct injection) ในช่วงความเร็วรอบ 2,200-2,850 รอบต่อนาที จากการทดสอบพบว่าลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ที่ O5, O10, O15 และ O20 เป็นเชื้อเพลิง สมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้ O5, O10, O15 และ O20 ให้กำลังเพลาของเครื่องยนต์และประสิทธิภาพเชิงความร้อนมากกว่า D100 ตลอดช่วงความเร็วรอบที่ทำการทดสอบ และมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงจำเพาะน้อยกว่า D100 ผลจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า น้ำมันเปลือกส้มเมื่อผสมกับน้ำมันดีเซล สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลได้ แต่ควรมีการศึกษาและทดลองเพิ่มเติมสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ เมื่อใช้น้ำมันเปลือกส้มนี้เป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำมันผสมเปลือกส้มผสมนี้มีค่าความเป็นกรดที่สูงกว่าน้ำมันดีเซลปรกติ
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1806
Appears in Collections:ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TEA-07 p405-412.pdfการใช้ประโยชน์น้ำมันสกัดจากเปลือกส้มเพื่อเป็นน้ำมันไอโอดีเซล512.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.