Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1819
Title: การพัฒนาตู้อบสำหรับกระบวนการอบข้าวแต๋นโดยการใช้หัวเผาก๊าซอินฟราเรด
Authors: นิลวรรณ ไชยทนุ
อัจฉรา จันทร์ผง
ทวีศักดิ์ มหาวรรณ
Keywords: ข้าวแต๋นอบแห้ง
ตู้อบอินฟราเรด
ตู้อบข้าวแต๋น
Issue Date: 2013
Publisher: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการอบแห้งข้าวแต๋นให้มีประสิทธิภาพของผู้ประกอบการกลุ่มข้าวแต๋นน้ำแตงโมอบแห้ง ชุมชนบ้านทุ่งม้านเหนือ จังหวัดลำปาง ทำการออกแบบและสร้างตู้อบโดยการใช้หัวเผาก๊าซชนิดอินฟราเรด ซึ่งมีขนาดห้องอบ 1.41x1.33x1.69 m ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นก๊าซเชื้อเพลิงในการให้ความร้อนแก่อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและใช้โบลเวอร์ไหลตามแกนขนาด 0.5 hp เพื่อหมุนเวียนอากาศ ห้องอบสามารถอบอบข้าวแต๋นได้ ครั้งละประมาณ 45 kg ความชื้นเริ่มต้น 400% d.b. โดยอบข้าวแต๋นให้มีความชื้นสุดท้าย 51.5-66.7% d.b. โดยทำการทดลองทั้งหมด 6 สภาวะ คือที่อุณหภูมิ 50 degree Celsius และ 60 degree Celsius ความเร็วรอบของมอเตอร์โบลเวอร์ 987, 1234 และ 1480 rpm นอกจากนี้ยังได้ศึกษาคุณภาพของข้าวแต๋นภายหลังกระบวนการอบที่สภาวะต่างๆ ในด้านความชื้นและสี และศึกษาอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานในกระบวนการอบ พบว่าการอบที่อุณหภูมิ 50 degree Celsius โดยใช้ความเร็วรอบของมอเตอร์โบลเวอร์ 1480 rpm มีประสิทธิภาพลดความชื้นสูงที่สุดถึง 53.95% การลดความชื้นเป็นแบบต่อเนื่อง ใช้เวลาในการอบ 330 นาที ทำให้ความชื้นเหลือเพียง 66.3% d.b. มีค่าความแตกต่างของสี 2.22 อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 2.2 kWh/time และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 2.4 kg/time ซึ่งประหยัดกว่าตู้เดิม 8 เท่า และจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์พบว่า ตู้อบข้าวแต๋นที่สร้างขึ้นสามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เดือนละ 29,164 บาท คิดเป็น 349,968 baths/year หรือมากกว่าเดิม 7 เท่า
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1819
Appears in Collections:ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TFE-11 p502-507.pdfการพัฒนาตู้อบสำหรับกระบวนการอบข้าวแต๋นโดยการใช้หัวเผาก๊าซอินฟราเรด857.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.