Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1852
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorระวิน สืบค้า
dc.contributor.authorมัตติกา พนมธรนิจกุล
dc.date.accessioned2014-10-09T03:22:14Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:36:14Z-
dc.date.available2014-10-09T03:22:14Z
dc.date.available2020-09-24T04:36:14Z-
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1852-
dc.description.abstractการปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์บนที่ลาดชันโดยการปลูกแบบสลับระหว่างพืชไร่และไม้ผล (Alleycropping) ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาการพังทลายของดิน และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมบนที่สูง อันเนื่องมาจากการทำไร่เลื่อนลอยและการเผาพื้นที่เพื่อเตรียมการเพาะปลูกของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคของการปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์ดังกล่าวคือ ความเสียหายของไม้ผลเนื่องมาจากความชื้นที่ไม่เพียงพอในฤดูแล้ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสียหายของไม้ผลที่ปลูกเชิงแถบอนุรักษ์ในระบบเกษตรน้ำฝน และเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกไม้ผลบนที่ลาดชัน โดยการใช้ระบบการให้น้ำแบบหยด ซึ่งคำนวณออกแบบบนพื้นฐานทางวิศวกรรมเพื่อให้ต้นทุนไม่แพงและมีประสิทธิภาพสูง และมีการเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ในถังเก็บน้ำซึ่งติดตั้งบริเวณส่วนบนสุดเหนือพื้นที่เพาะปลูกที่ลาดชัน เพื่อใช้ความดันจากแรงโน้มถ่วงในการส่งน้ำให้แก่ระบบน้ำหยด ปริมาณน้ำฝนที่เก็บเกี่ยวและน้ำที่จะใช้ให้แก่พืชพิจารณาการใช้น้ำของพืชหรือการคายระเหยของไม้ผลในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม-พฤษภาคม) นอกจากนี้มีการใส่สารดูดความชื้น (Hydrophilic polymer) ให้แก่ดินในเขตรากพืชก่อนการให้น้ำเพื่อเพิ่มการอุ้มน้ำให้แก่ดิน การทดลองประกอบด้วยการปฏิบัติ 4 วิธีคือ (1) ไม่มีการให้น้ำ (2) ไม่ให้น้ำแต่ใส่สารดูดความชื้นโพลีเมอร์ (3) ให้น้ำแบบหยด และ (4) ให้น้ำแบบหยดร่วมกับการใส่โพลีเมอร์ ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้น้ำแบบหยดและการไม่ให้น้ำรวมถึงการใส่สารดูดความชื้นโพลีเมอร์ที่มีต่อการกักเก็บน้ำในดิน การเจริญเติบโตของไม้ผล และสมบัติของดินบางประการ ผลการทดลองพบว่าการให้น้ำแบบหยดทำให้ปริมาณการกักเก็บน้ำในดินที่เป็นประโยชน์ในช่วงความลึกดิน 1 ม. สูงขึ้นมากกว่าการไม่ให้น้ำอย่างชัดเจน (ประมาณ 80-100 มม.) โดยวิธีให้น้ำแบบหยดร่วมกับสารดูดความชื้นโพลีเมอร์มีปริมาณกักเก็บน้ำในดินสูงสุดตลอดช่วงฤดูแล้งที่ทดลองให้น้ำ ในขณะที่ส่วนที่ไม่ได้ให้น้ำมีปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ บางต้นเหี่ยวเฉา และบางต้นแห้งตาย ในส่วนของการเจริญเติบโต (ระหว่างธันวาคม 2553-พฤษภาคม 2555) เมื่อพิจารณาจากความสูงและความกว้างทรงพุ่ม พบว่าไม้ผลที่ให้น้ำมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าอย่างชัดเจน โดยไม้ผลที่ให้น้ำแบบหยดร่วมกับการใช้สารดูดความชื้นโพลีเมอร์มีการเจริญเติบโตมากกว่าที่ไม่ได้ให้น้ำสำหรับมะม่วง มะนาว มะเฟือง ฝรั่ง และละมุด เป็น 77, 103, 44, 132 และ 64% ตามลำดับ ดังนั้นการให้น้ำแบบหยดแก่ไม้ผลในฤดูแล้งร่วมกับการใช้สารดูดความชื้นโพลีเมอร์ จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสียหายของไม้ผลและเพิ่มการเจริญเติบโตได้อย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรบนที่ลาดชันเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineeringen_US
dc.subjectการให้น้ำแบบหยดen_US
dc.subjectสารดูดความชื้นโพลีเมอร์en_US
dc.subjectการปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์en_US
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพของการปลูกไม้ผลบนที่ลาดชันโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดร่วมกับสารดูดความชื้นโพลีเมอร์en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TSWE-02 p713-719.pdfการเพิ่มประสิทธิภาพของการปลูกไม้ผลบนที่ลาดชันโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดร่วมกับสารดูดความชื้นโพลีเมอร์545.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.