Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1855
Title: | การทดสอบและประเมินผลการให้น้ำหยดสำหรับไร่อ้อยนอกเขตชลประทานในภาคกลาง |
Authors: | นาวี จิระชีวี สราวุฒิ ปานทน สันธาร นาควัฒนานุกูล วุฒิพล จันทร์สระคู สุรชัย สวยลึก กาญจนา กิระศักดิ์ |
Keywords: | น้ำหยด อ้อย อัตราจ่ายน้ำ นอกเขตชลประทาน |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | ระบบหยดน้ำเป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในที่มีแหล่งน้ำจำกัด ในอดีตการใช้งานยังไม่แพร่หลายเนื่องจากข้อจำกัดด้านแหล่งจำหน่ายวัสดุและราคา แต่ในปัจจุบันสินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคกลาง จึงทำให้เกิดปัญหาการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและประเมินผลการใช้งานระบบน้ำหยดแบบเทป (Drip Tape) สำหรับไร้อ้อยเพื่อเป็นแนวทางการใช้ที่เหมาะสมสำหรับไร่อ้อยขนาดเล็กในประเทศ โดยดำเนินการทดสอบในระดับแปลงเกษตรกรที่ อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี แปลงทดสอบเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายประกอบด้วยการให้น้ำ 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1) เทปน้ำหยดต่างประเทศ อัตราจ่ายน้ำต่ำ (1.4 ลิตร/ชม.) 2) เทปน้ำหยดผลิตในประเทศ อัตราจ่ายน้ำสูง (2.4 ลิตร/ชม.) 3) ไม่ให้น้ำ (อาศัยน้ำฝน) ในแต่ละกรรมวิธีมีขนาดแปลง 2-3 ไร่ กำหนดปริมาณน้ำที่ให้โดยคำนวณเทียบจากข้อมูลค่าการระเหยน้ำจากถาดวัดการระเหย โดยกำหนดรอบเวรการให้น้ำระหว่าง 7-14 วัน ดำเนินการทดสอบในการปลูกอ้อย 2 ฤดูปลูก ระหว่างปี 2554 (อ้อยปลูก) ถึง ปี 2555 (อ้อยตอ 1) ผลการทดสอบพบว่าในปี 2554 เป็นปีที่มีปริมาณฝนกระจายอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณผลผลิตอ้อยในแปลงที่ไม่ให้น้ำจึงไม่แตกต่างจากการให้น้ำหยดในแบบต่างๆ แต่ในการทดสอบกับอ้อยตอ 1 ในปี 2555 ซึ่งมีปริมาณฝนน้อย (1,031 มม.) มีค่าเฉลี่ยผลผลิตของแปลงที่อาศัยน้ำฝนต่ำมาก (6.10 ตัน/ไร่ และ c.c.s. = 8.25) แตกต่างจากค่าเฉลี่ยผลผลิตของแบบน้ำหยดอัตราจ่ายน้ำต่ำ (16.51 ตัน/ไร่ และ c.c.s. = 13.20) ที่มีค่าเฉลี่ยผลผลิตใกล้เคียงกับแบบน้ำหยดอัตราจ่ายน้ำสูง (14.24 ตัน/ไร่ และ c.c.s. = 12.62) จากประเมินผลการใช้งานของเทปน้ำหยดทั้ง 2 แบบ พบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ไม่แตกต่างกันแบบอัตราจ่ายน้ำสูงจะมีข้อดีที่มีราคาถูกกว่า ถึงแม้จะมีข้อจำกัดที่เกิดความเสียหายมากกว่าแต่เมื่อซ่อมแซมแล้วสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 2-3 ปี ถ้าอยู่ภายใต้การใช้งานและการดูแลรักษาที่เหมาะสม เช่น การติดตั้งหรือเก็บเทปน้ำหยดด้วยอุปกรณ์ม้วนสาย การเคลื่อนย้ายอย่างเหมาะสมระหว่างการใช้งาน เป็นต้น |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1855 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TSWE-08 p733-737.pdf | การทดสอบและประเมินผลการให้น้ำหยดสำหรับไร่อ้อยนอกเขตชลประทานในภาคกลาง | 505.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.