Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2008
Title: | ความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มสมาร์ทโฟน |
Other Titles: | Behavioral Intention in Downloading Mobile Application among Smartphone Users |
Authors: | สิริสุดา รอดทอง |
Keywords: | โมบายแอพพลิเคชั่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการตลาด |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัย ความสัมพันธ์ และทดสอบอิทธิพลของปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่น ตลอดจนทดสอบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพลิเคชั่น ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการทา วิจัยที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.75 - 1.00 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้หรือเคยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มสมาร์ทโฟนและมีประสบการณ์การดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นจำ นวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์วิธี Independent Samples t-test, One-Way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายและการรับรู้ความสะดวกในการพกพาอยู่ในระดับเห็นด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยด้านการรับรู้มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันมีค่าระหว่าง 0.149 - 0.513 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายและปัจจัยด้านการรับรู้ความสะดวกในการพกพา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มสมาร์ทโฟนโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลที่ระดับ 0.368 นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นที่ไม่แตกต่างกัน The purpose of this research is to investigate relationship, to test perceived factors that affect the intentions of mobile application downloads and also to test the differences of personal factors. It is a survey-based research done by incorporating surveys as the data collection tool which were assessed for its reliability with a Correlation Index between 0.75 - 1.00. The sample group is 400 Smartphone users or ex-users who have some experience in download mobile applications. Data analysis was performed by using descriptive and inferential statistics. The hypothesis testing incorporated Independent Samples t-test, One-Way ANOVA and Multiple Regression Analysis. The results show that the sample group agrees highly with factors on perceived usefulness while agreeing with factors on perceived each of used and perceived mobility. However, perceived factors correlate in the same direction between 0.149 - 0.513 with a significance of 0.001. Factors on benefit perceived, on easiness perceived, and convenience in portability awareness are considered factors that affect the Smartphone Users’ Intentions of Downloading Mobile. Influential Coefficient Index is at 0.368. Moreover, different personal factors in terms of gender, age, education level, occupation and income don’t cause differences in intentions of downloading mobile applications. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2008 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139314.pdf | ความตั้งใจในการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มสมาร์ทโฟน | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.