Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/218
Title: การศึกษาความคิดเห็นและความต้องการที่มีต่อการจัดหาพัสดุโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ของหน่วยงานภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Study to find out requirements of using the e-Auction of government sector in Bangkok
Authors: วันชัย ประเสริฐศรี
กิ่งกาญจน์ มูลเมือง
ชัยมงคล ผลแก้ว
Keywords: ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
พัสดุ -- การจัดหา -- วิจัย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจ
Abstract: ตามที่กระทรวงการคลัง ได้ประกาศให้หน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ้งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมานั้น การวิจัยครั้งนี้จึงต้อง การศึกษาความคิดเห็นและความต้องการที่มีต่อการจัดหาพัสดุโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ของหน่วยงานภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มสำนักงาน/กรม กลุ่มรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มกระทรวง ประชากรของการวิจัยเป็นผู้บริหารหรือพนักงานของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีต่อการจัดหาพัสดุ โดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 182 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ANOVA และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย Scheffe Analysis ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการเป็ นหน่วยงานภาครัฐ โดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ ผู้เข้าร่วมประมูลได้ข้อมูลการประมูลมาจากหน่วยงานภาครัฐ ในการเตรียมความพร้อมพบปัญหาด้านการศึกษากฎ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติในการประมูลมากที่สุด และต้องการส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรม/สัมมนาเพิ่มเติมทั้งในด้านการใช้โปรแกรม ด้านกฎ ระเบียบและวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการประมูลโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีมีข้อสงสัยมักจะขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการตลาดกลางโดยการติดต่อทางโทรศัพท์ ใช้บุคลากรที่ดูแลเรื่องการประมูลจำนวน 1-3 คน มีเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะปานกลางเพื่อการใช้งานจำนวน 1-2 เครื่อง ใช้ซอฟแวร์ Internet Explorer ในการประมูล การเสนอขายสินค้าจะดูจากเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง ใช้ตลาดกลางที่ให้บริการมากที่สุด ขั้นตอนในการสมัครเป็นสมาชิกของตลาดกลางมีขั!นตอนไม่มากแต่ต้องใช้เวลานาน ที่ผ่านมาเคยชนะการประมูลน้อยกว่า 10 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็ นการเข้าร่วมประมูลแบบเปิ ดราคา การประมูลแต่ละครั้งจะได้รับทราบผลภายใน 10 วัน ยอดขายโดยเฉลี่ยจากการประมูลต่อปี มากกว่า 1,000,000 บาท ขึ้นไป และผู้เข้าร่วมประมูลเห็นว่าการจัดซื!อจัดจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์นี!ยังไม่สามารถป้องกันการทุจริตโดยการฮั้วได้ ความคิดเห็นและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ โดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านกฎ ระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงาน มีปัญหาเรื่องการประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลมีแหล่งการกระจายข้อมูลน้อย ผู้เข้าร่วมประมูลจึงต้องการให้มีการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์รายเดือนประกาศความต้องการซื้อของภาครัฐ ในด้านผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหาเรื่องผู้ให้บริการไม่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ ผู้เข้าร่วมประมูลจึงต้องการให้ผู้บริการตลาดกลางถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถปฏิบัติงานได้จริง ในด้านบุคลากรมีปัญหาเรื่องบุคลากรไม่สามารถตัดสินใจ/แก้ปัญหาได้ ผู้เข้าร่วมประมูลจึงต้องการให้มีการตั้งเป้าหมาย (ราคาขาย) ที้จะทำการประมูลไว้ก่อน ในด้านเครื่องมือและอุปกรณ์มีปัญหาเรื่องความหลากหลาย และราคาสูง ผู้เข้ารวมประมูลจึงต้องการให้ภาครัฐจัดหาเครื่องมือให้ในราคาพิเศษ และในด้านระบบงานการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์พบปัญหาเรื่องการยกเลิกการประมูลยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมประมูลจึงต้องการให้มีข้อกำหนดสำหรับการยกเลิกที่เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสำคัญของความคิดเห็นและความต้องการที่มีต่อการจัดหาพัสดุโดยการเป็ นผู้เข้าร่วมประมูล ให้กับหน่วยงานภาครัฐ จำแนกตามขนาดของกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า โดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มสำนัก/กรมมีปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ โดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มากกว่ากลุ่มกระทรวง การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
According to a compliance of the Ministry of Finance, government sectors due to all purchasing matters have to use e-Auction since January 01st, 2005. This propose of the research is to find out requirements of using the e-Auction of government sector in Bangkok. 182 samplings of the government sectors in Bangkok are randomly selected. They have asked by a questionnaire. Then a results is analyzed by using statistical theory as ANOVA and Scheffe Analysis. The result found e-auction methods/procedures are required by all officers who involve for the e-auction. Purchasing detail might be asked suppliers when needed via a telephone. Additional required when e-Auction is applied are: 1-3 officers are involved, a microcomputers with an application-Internet Explorer is needed, time consumption to monitor on the governmental home page., time consumption to subscribe to be a member of center market. By previous experienced to get a winner of each e-auction, there is not less than 10 times to involve and will be announced within 10 days as an average. Value per annum is greater than 1,000,000 THB. E-auction is not able to protect all unfair. Government Units need methods, working procedures and pursue suppliers to involve in e-auctions. Then Government Units must prepare all pursue medias for purchasing requirements. For the center market, provider lacks of efficiency in tern of knowledge transferring for e-auction methods. Finally officers do not have a decision making authorization, and sometimes all computer hardware are not matched to the usage. An e-auction cancellation is not defined yet due to a procedure. Finally, e-Auction opinion and opinion comparison of 182 samplings are quite totally different. By small departments/sectors got difficulties to deal with e-Auction more than major departments. This research is defined for significant statistic, 0.05.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/218
Appears in Collections:วิจัย (Research - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การศึกษาความคิดเห็นและความต้องการที่มีต่อการจัดหาพัสดุโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล....pdfการศึกษาความคิดเห็นและความต้องการที่มีต่อการจัดหาพัสดุโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ของหน่วยงานภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร553.1 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.