Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2249
Title: อิทธิพลของรูปร่างตัวกวนต่อสมบัติของรอยต่อชนอลูมิเนียมผสม AA 6063-T1
Other Titles: Effect of FSW stirrer geomentrics on AA 6063-T1 aluminum alloy butt joint properties
Authors: สมศักดิ์ ศรีป่าหมาก
Keywords: การเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน
รอยต่อชน
อลูมิเนียม
ความเร็วเดินแนวเชื่อม
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษา เรื่อง อิทธิพลของรูปร่างตัวกวนต่อสมบัติของรอยต่อชนอลูมิเนียมผสม AA 6063-T1 โดยเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน ซึ่งใช้เครื่องมือในการเชื่อม คือ ตัวกวนชนิดรูปทรงกระบอกผิวเรียบ ตัวกวนชนิดรูปกรวยผิวเรียบ ตัวกวนชนิดรูปทรงกระบอกแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกาและหมุนทวนเข็มนาฬิกา และตัวกวนชนิดรูปกรวยกลมแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกา และหมุนทวนเข็มนาฬิกา ในการทดลองแกนหมุนของเครื่องมือเชื่อมทำมุมเอียง 2 องศากับชิ้นงานเชื่อมในแนวดิ่ง ตัวกวนมีความเร็วรอบคงที่ ที่ 2000 รอบ/นาที โดยเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเดินเชื่อม (อัตราป้อน) ตั้งแต่ 50 จนถึง 200 มิลลิเมตร/นาที ซึ่งปรับเพิ่มครั้งละ 25 มิลลิเมตร/นาที ในการทดลองจะทดสอบความเหมาะสมของความเร็วในการเดินเชื่อมดังกล่าวขั้นต้นด้วยค่าความแข็งแรงดึง เปอร์เซ็นต์การยืดตัวของแนวเชื่อม และการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของแนวเชื่อมเพื่อนำไปใช้เปรียบเทียบผล ของตัวกวนรูปร่างแบบต่างๆ ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ เมื่อพิจารณาค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและค่าเปอร็เซ็นต์การยืดตัวของชิ้นทดสอบที่ผ่านการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนด้วยตัวกวนชนิดต่างๆ พบว่า ตัวกวนชนิดรูปทรงกระบอกแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา และตัวกวนชนิดรูปกรวยกลมแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา มีความเหมาะสม ในการใช้งาน เนื่องจากค่าตัวแปร ทั้งสองตัวแปรมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อวัสดุหลัก ในขณะที่ตัวกวนชนิดรูปทรงกระบอกแบบมีเกลียว หมุนทวนเข็มนาฬิกา มีความเหมาะสมที่สุดในการใช้งาน เมื่อพิจารณาถึง ค่าความเร็วในการเดินเชื่อม ซึ่งมีค่าต่ำกว่าตัวกวนชนิดรูปทรงกระบอกแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกาและตัวกวนชนิดรูปกรวยกลมแบบมีเกลียว หมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ด้วยค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด เท่ากับ 162.08 MPa ที่สภาวะความเร็วในการเดินเชื่อม 100 มิลลิเมตร/นาที และค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวสูงสุด เท่ากับ 26.07 เปอร์เซ็นต์ ที่สภาวะความเร็วในการเดินเชื่อม 75 มิลลิเมตร/นาที
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2249
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144160.pdfEffect of FSW stirrer geomentrics on AA 6063-T1 aluminum alloy butt joint properties6.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.