Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/229
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสายจิต วัชรสินธุ
dc.contributor.authorปัทมน์ฉัตต์ อนุรักษ์ฤานนท์
dc.date.accessioned2011-10-20T07:56:20Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:31:05Z-
dc.date.available2011-10-20T07:56:20Z
dc.date.available2020-09-24T04:31:05Z-
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/229-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาความรู้และวิธีการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาลบัญชีในถานบันอุดมศึกษา 2.) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ภายในองค์กรของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกษา 3.) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกา 4.) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกษา 5.) เปรียบเทียบความรู้และวิธีการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกษา วิธีการดำเนินการวิจันใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอจ่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยเลือกจากอาจารย์ผู้สอนวิชาการบัญชีในปี พ.ศ. 2551 ในกรุงเทพฯ 100 คน แบ่งเป็น ของรัฐ 50 คน ของเอกชน 50 คน และต่างจังหวัด เป็นจำนวน 10 คน แบ่งเป็นของรัฐ 50 คน ของเอน 50 โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของอาจารย์ผู้สอนวิชาการบัญชีในถาบันอุดมศึกษาของไทย ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้และวิธีการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาการบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทย ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรุ้ภายในองคืกร ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการความรุ้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกาของไทย และตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหยิง สถานภาพทางครอบครัวเป็นโสด ระดับการศึกษาองอาจารย์ใหญ่ คือ ปริญญาโทหรือเทียบเท่า และส่วนใหญ่ ไม่ได้รับใบอนุญาติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและมีประสบการณ์สอนวิชาบัญชีตั้งแต่ 5-10 ปี รายได้ของอาจารย์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงมากกว่า 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 25,000 บาท จำนวนอาจารย์ในภาควิชาหรือสาขาบัญชีส่วนใหญ่ 10-19 คน และจำนวนอาจารยืในมหาวิทยาลัยทั้งหมด ส่วนใหญ่มีมากกว่า 150 คน สำหรับความรู้และวิธีการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในถานบันอุดมศึกษา ในภาพรวมอาจารย์มีความรู้และวิธีการจัดการความรู้ในระดับสูง กระบวนการจัดการความรู้ภายในองคืกรมีระดับของการจัดการความรู้สูงที่สุด ได้แก่ ส่งคนไปฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเป็นการแสวงหาและเสริมสร้างความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้ สื่อที่ใช้ในการแสวงหาและเก็บรวบรวมความรู้มากที่สุด ได้แก่ สื่อที่บันทึกความรู้ในรูปของสิ่งพิมพ์ทั่วไป การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การเก็บรักษาความรู้ไว้ในสื่อ เช่น ฐานความรู้ แฟ้มความรู้ แฟ้มสะสมงาน รูปแบบของการนำความรุ้ไปใช้ รูปแบบทิ่นิยมนำไปใช้มากที่สุด ได้แก่ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคลในมหาวิทยาลัย เช่น การประชุม อบรมสัมมนา การพบปะสนทนาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการส่วนรูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ รูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ อินเตอร์เน็ต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาด้านทักษะและแรงจูงใจ ส่งผลกระทบต่อการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีในระดับสูงที่สุดรองลงมาเป็นด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านการสนับสนุนและการบริหาร ตามลำดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้มากที่สุด ได้แก่ บุคลากร (ผู้สอน) ไม่ก้าวทันต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้มากที่สุด ได้แก่ การจัดเก็บเอกสารมีปัญหาในเรื่องคลังข้อมูล เพราะยังไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ และไม่ได้อยู่ในรูปเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ ด้านการบริหารจัดการที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้มากที่สุด ได้แก่ ภาระงานประจำของบุคลากร (ผู้สอน) มีมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้en_US
dc.description.abstractThe objectives of this survey were to study 1) accounting teachers’ understanding of knowledge management, 2) their process of knowledge management, 3) factors affecting knowledge management, 4) problems and threats of knowledge management, 5) and to compare their understanding of knowledge management. The population consisted of 200 accounting teachers in state and private Thai universities in 2008 100 teachers from Bangkok and another 100 from other provinces. The results showed that most of the accounting teachers were single women with a master’s degree and 5 – 10 years’ experience of teaching accounting. Most of them did not obtain a vocational license. Their monthly income was ฿15,000 – ฿25,000. In each university, there were about 10 – 19 accounting teachers out of more than 150 staff members. As a whole, the teachers, understanding of knowledge management was very high. The most effective way of knowledge management was staff training; and the publishing media was mostly used in searching and collecting information. The widely used activity concerning knowledge management was filing the data in the forms of meetings and seminars was the most popular. The Internet was used to exchange and transfer knowledge. The factors affecting teachers’ knowledge management were skills and motivation; organization culture; and administration respectively. The most serious problem of knowledge management was that the teachers could not keep up with the needs and changes of the business world. In case of administration, a heavy teaching load prevented the teachers from participate in knowledge management activities.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้ -- วิจัยen_US
dc.subjectการบัญชีen_US
dc.titleการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาชีพบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปี พ.ศ.2551en_US
dc.title.alternativeThe knowledge management of accounting teacher in Thai higher education institution in 2008.en_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาชีพบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปี พ.ศ.2551.pdfการจัดการความรู้ของอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาชีพบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปี พ.ศ.25511.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.