Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3344
Title: การรับรู้บรรยากาศองค์การความผูกพันความพึงพอใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Other Titles: The influence of perceived organizational climate, employee engagement and job satisfaction on organizational citizenship behaviors: a study of staffs of the new institutes of higher education in Bangkok metropolitan region
Authors: สรสุดา แก่นจันทร์
Keywords: บรรยากาศองค์การ
ความพึงพอใจในงาน
ความผูกพันองค์การ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรับรู้บรรยากาศองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และความแตกต่างของสายการปฏิบัติงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 387 คน แบ่งเป็นสายวิชาการ 187 คน และสายสนับสนุน 200 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-30 ปี และ 31-35 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001-25,000 บาท ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่ำกว่า 1-5 ปี สังกัดสายสนับสนุน ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้บรรยากาศองค์การ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีเพียงความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานที่มีผลในเชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้เป็น Y ̂=0.908+0.494x2 +0.253x3 โดยตัวแปรอิสระทั้งสองสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The objective of this research was to study the influence of perception of organizational climate, job satisfaction, organizational engagement and staff”s different performance lines on organizational citizenship behaviors of personnel education in Bangkok metropolitan region. A sample consisted of 387 staff working in the new educational institution of Bangkok Metropolitan region, consisting of 187 academic line and 200 support line. The statistical methods used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regression with enter. The results showed that most of the respondents were female, 20-30 years of age, bachelor’s degree holders, a monthly income of between 20,001-25,000 baht, and less than 5 years of work experience as university supporting staff. Their perception of organizational climate, organizational engagement, job satisfaction and organizational citizenship behavior were shown to be at a high level. It also revealed that their perception of organizational climate had no effect on organizational citizenship behavior. However, their organizational engagement and job satisfaction correlated positively with organizational citizenship behavior. A forecasting equation could be written as Y ̂=0.908+0.494x2 +0.253x3 and both variables accounted for 59.8% prediction of behavior. Moreover, different performance lines affected the organizational citizenship not differently at 0.05 level of statistical significance.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3344
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158607.pdfThe influence of perceived organizational climate, employee engagement and job satisfaction on organizational citizenship behaviors: a study of staffs of the new institutes of higher education in Bangkok metropolitan region19.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.