Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3515
Title: ผลกระทบของการควบคุมคุณภาพโดยรวมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีต่อความสำเร็จของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
Other Titles: Impact of Total Quality Management and Organizational Citizenship Behavior on the Success of Enterprise Resource System
Authors: อรพรรณ เพ็ชรเที่ยง
Keywords: การควบคุมคุณภาพโดยรวม
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
ระบบการวางแผน
ทรัพยากรองค์กร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกระบบสารสนเทศ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมคุณภาพโดยรวม (TQM) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (OCB) ที่มีต่อความสำเร็จของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานในระดับบริหารงานถึงระดับปฏิบัติการที่ใช้งานระบบ ERP ในแผนกจัดซื้อ แผนกผลิตและแผนกการตลาด ในธุรกิจการแปรรูปอาหาร ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร จำนวน 104 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, LSD และ Multiple Linear Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด อยู่ในตำแหน่งพนักงานอาวุโส/หัวหน้าแผนก มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 15,000-20,000 บาท ส่วน TQM, OCB และความสำเร็จของระบบ ERP มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานในภาพรวม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพโดยรวมแตกต่างกัน ส่วนการควบคุมคุณภาพโดยรวมด้านการจัดการตามระบอบประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบ ERP ในภาพรวม และ การควบคุมคุณภาพโดยรวมด้านการจัดการตามระบอบประชาธิปไตย และด้านการเพิ่มขีดความสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรในภาพรวม ส่วนการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรด้านการสำนึกในหน้าที่ และการให้ความร่วมมือมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบ ERP
The objectives of this research were to explore the impact of Total Quality Management (TQM) and Organizational Citizenship Behavior (OCB) on the success of Enterprise Resource Planning (ERP) system. This study used 104 samples ranging from management level to implementation level staffs who used the ERP system in the purchasing, production and marketing department of food processing business located at Samut Sakhon Industrial Estate area. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including percentages, frequencies, means, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, LSD, and Multiple Linear Regression at the statistical significance level of 0.05. The research results found that most of the respondents were female, single, age 25-35 years old, Bachelor's degree of educational level, senior staff/department head of working position, and 15,000-20,000 baht of the average income. The TQM, OCB, and the success of ERP system were in the high level of importance. The hypothesis results found that age, educational level, current working position and average monthly income had effect on the overall aspects of TQM. The TQM in the aspect of democratic management influenced the success of ERP system in overall aspects. The TQM in the aspect of democratic management and empowerment influenced OCB in overall aspects. The OCB in the aspect of conscientiousness and civic virtue influenced the success of ERP system.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3515
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-161656.pdfImpact of Total Quality Management and Organizational Citizenship Behavior on the Success of Enterprise Resource System2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.