Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4089
Title: การรับรู้แผนยุทธศาสตร์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Personnel Perception towards Strategic Planning at Rajamangala University of Technolgy Thanyaburi
Authors: กิติยา ทองทรัพย์ทวี
Keywords: การรับรู้
แผนยุทธศาสตร์
บุคลากร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา.
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้ แผนยุทธศาสตร์ โดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 327 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน t-test ,One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.16 มีอายุ 31 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.04 มีประสบการณ์ทางานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปจำนวน คิดเป็นร้อยละ 77.68 สายวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 60.24 บุคลากรมีการรับรู้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2564 ประกอบไปด้วยการรับรู้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร และยุทธศาสตร์ ที่ 1 – 4 คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการรับรู้อยู่ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.20) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D. = 0.569) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้แผน ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีของบุคลากร พบว่า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เฉพาะ ด้านอายุ และสังกัดหน่วยงาน ส่วนด้าน เพศ ด้านประสบการณ์ทำงาน และด้านสายงาน ที่ปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
The objectives of this research were to investigate the level of perception of staff in strategic plan Rajamangala University of Technology Thanyaburi. To investigate the differences between personal factors and perceived strategy plan. The study collects information from 327 staff through a set of questionnaires. Descriptive statistics and inferential statistics are the means used to analyze the data. The measures of descriptive statistics include Frequencies, Percentile Values, Mean, and Standard Deviation. The instruments of inferential statistics include the t-test and One-way ANOVA at the 0.05 significance level. There are explanations that are revealed, which classify by different demographic questions including gender, age, work experience, department, and role. The result shows that respondents who are female (61.16%), in the age of 31 – 35 years old (44.04%), have more than 5 years of experience (77.68%), and work in academic role (60.24%) fully understand the strategic plan, including vision statement, mission statement, core values, and action plans no. 1 – 4. The level of the perception of the strategic plan is high ( x̄ = 4.20) and standard deviation (S.D. = 0.569) The research concludes that the understanding of the RMUTT’s strategic plan acquired by its personnel is different between age and department at the 0.05 significance level whereas work experience and role does not show difference.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4089
Appears in Collections:วิจัย (Research - IRD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20231002-Research-Kitiya T.pdfPersonnel Perception towards Strategic Planning at Rajamangala University of Technolgy Thanyaburi1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.