Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4258
Title: แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสายวิชาการพัฒนางานวิจัยเพิ่มขึ้น ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: The Guidelines for Promoting and Supporting Research Development of Academic Personnel at Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: พรทรัพย์ ถนัดไร่
Keywords: บุคลากรสายวิชาการ
แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุน
การพัฒนางานวิจัย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลาการสายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พัฒนางานวิจัยเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคลากรสายวิชาการประจำกลุ่มที่ 2 ผู้บริหารด้านการวิจัยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การกำหนดการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญนั้นใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวิจัยของบุคลากรสายวิชาการมีประสบการทำวิจัยทั้งสถานะหัวหน้าโครงการวิจัย และผู้ร่วมวิจัย ลักษณะโครงการวิจัยที่ทำมีทั้งโครงการเดี่ยว และชุดโครงการวิจัย โดยแหล่งทุนที่ขอรับทุนมีทั้งแหล่งทุนภายในและแหล่งทุนภายนอก เหตุผลที่ทำงานวิจัย คือ เป็นภาระงานด้านหนึ่งของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพิ่มพูนองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อพัฒนางานการเรียนการสอน แก้ไขโจทย์วิจัยของชุมชนผลตอบแทนชื่อเสียง และตำแหน่งทางวิชาการ สิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยมีค่อนข้างมากแต่ขาดห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานการวิจัย ส่วนการส่งเสริมและสนับสนุนของมหาวิทยลัยมีทั้งการจัดอบรมการติดตามงานวิจัย การสนับสนุนตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย ตลอดจนการประกวดผลงานในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาอุปสรรค คือ มีภาระงานสอนมากทำให้มีเวลาทำงานวิจัยน้อย และสถานที่ห้องทดลองที่อยู่ในตึกของคณะ มีเวลาเปิด – ปิด เป็นเวลา ทำให้ทำวิจัยเกินเวลาไม่ได้ ด้านสารเคมี หรือวัสดุอุปกรณ์บางอย่างไม่มีในประเทศต้องสั่งจากต่างประเทศทำให้เกิดความล่าช้าในการทำวิจัย 2) แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสายวิชาการทำงานวิจัยเพิ่มขึ้นนั้น มหาวิทยาลัยมีการอบรมให้กับอาจารย์เพื่อให้รู้ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยเพื่อให้นักวิจัยเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีเวทีให้นักวิจัยประกวดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีค่าสมนาคุณให้นักวิจัย มีการเชิดชูเกียรติแก่นักวิจัยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักวิจัยดำเนินการวิจัย หากเครื่องมืออุปกรณ์ในมหาวิทยาลัยไม่มี มหาวิทยาลัยจะประสานร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้นักวิจัยได้ดำเนินการวิจัยได้อย่างคล่องตัว อีกทั้งมีงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยได้ดำเนินการวิจัยหากไม่ได้รับงบประมาณในการทำวิจัยจากทุนภายนอก และมหาวิทยาลัยยังชี้ให้เห็นว่าเมื่อทำงานวิจัยแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร
The objectives of this research were 1) to study the current conditions in conducting research of academic personnel at Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2) to study the guidelines for promoting and supporting academic personnel at Rajamangala University of Technology Thanyaburi developing more research. This qualitative research was conducted by collecting the information from two groups of key informants: the full-time academic personnel and the research administrators or assigned people. The key informants were selected by purposive sampling, and the research instrument was the interview form. The data from the interview were analyzed by content analysis. The research findings were found that 1) regarding the research conditions, the academic personnel had experience in conducting research as research project leaders and co-researchers. There were research projects both research programs and research subprojects with internal and external grants. The reasons for conducting research were to meet the workloads of faculty, to extend the knowledge for teaching and learning development, to solve the research problems of communities, to receive a return and reputation, and to get an academic position. There were a lot of research facilities, but there was a lack of standard research laboratories. The research promotion and support of the university were research training, tracking, and supporting research publication as well as domestic and international research competition. The research challenges were a lot of teaching workloads leading to less research working time. Building opening and closing times were fixed resulting in being unable to work on research over time. Some chemicals or research equipment had to be ordered from abroad causing research delays. 2) The guidelines for promoting and supporting academic personnel to develop more research are providing the training about procedures of conducting research in order to proceed in the same way; providing the domestic and international research competition forums; providing research rewards and conferring an honor on the researchers as morale and encouragement. If the research facilities are not available, there should be the coordination with the domestic and international university network to allow the researchers carry out the research flexibly. Moreover, there should be the university research funding available in case of no external research funds. Also, the university points out the benefits of conducting the research.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4258
Appears in Collections:วิจัย (Research - IRD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20231201-R2R-Pornsup T.pdfThe Guidelines for Promoting and Supporting Research Development of Academic Personnel at Rajamangala University of Technology Thanyaburi1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.