Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/553
Title: | การปรับปรุงผลิตภาพการผลิตด้วยระบบการผลิตแบบดึง กรณีศึกษา :โรงงานผลิตหัวเตาแก๊ส |
Other Titles: | Productivity improvement by pull production system : a case study of gas stove head industry |
Authors: | วัฒนชัย ประสงค์ |
Keywords: | อุตสาหกรรมการผลิต -- การควบคุมการผลิต ระบบการผลิตแบบดึง ความสูญเปล่า 7 ประการ ระบบคัมบัง |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบการผลิตแบบดึง (Pull System) มาเป็นเครื่องมือในการช่วยเพิ่มผลิตภาพให้กับสายการผลิตตัวอย่าง จากการศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่าในสายการผลิตขาดระบบสั่งการผลิตที่ชัดเจน จานวนเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานมากถึง 40% ของเครื่องจักรทั้งหมด การไหลของงานที่ไม่ต่อเนื่อง จำนวนล็อตการผลิตมีขนาดใหญ่ถึง 2,000-6,000 ชิ้นต่อล็อต และมูลค่าสินค้าคงคลังสูงถึง 2,239,804 บาทต่อเดือน ขั้นตอนการดาเนินการวิจัยประกอบด้วย การค้นหาความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต โดยใช้แผนภาพการไหลของงานและข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการเกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ แล้วทำการปรับปรุงสายการผลิตตัวอย่าง โดยการจัดทำผังโรงงานใหม่ จัดทาวิธีการปฏิบัติงานมาตรฐาน จัดทาเวลามาตรฐาน และประยุกต์ใช้ระบบคัมบังในการควบคุมวัสดุคงคลังทั้งก่อนและหลังกระบวนการของสายการผลิตตัวอย่าง ผลการวิจัย แสดงว่าระบบการผลิตแบบดึงสามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิตให้กับกระบวนการผลิต 22.27% โดยมีกระบวนการผลิตที่ไหลอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ใช้ในการผลิตลดลง 192.25 ตารางเมตร คิดเป็น 33.10% รอบเวลาการผลิตชิ้นงานลดลง 14.55% มีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน และมีจานวนสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบก่อนกระบวนการ ระหว่างกระบวนและหลังกระบวนการลดลง 38.90% สามารถควบคุมระดับวัสดุคงคลัง และลดมูลค่าของสินค้าคงคลังลง 23.54% |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/553 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
1Front.pdf | การปรับปรุงผลิตภาพการผลิตด้วยระบบการผลิตแบบดึง กรณีศึกษา :โรงงานผลิตหัวเตาแก๊ส | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.