Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/832
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินกิจกรรมการค้นหาและประเมินอันตราย (CCCF) : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ เกตเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Factors Relating to Employees’ Participation in Completely Check Completely Find-Out Activity (CCCF): A Case Study of Toyota Boshoku Gateway (Thailand) Co.,Ltd.
Authors: ชัญญาดา ปริธิสาร
Keywords: บริษัทโตโยต้าโบโชคุ เกตเวย์ (ประเทศไทย) -- การจัดการ
การมีส่วนร่วม -- พนักงาน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
Abstract: การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินกิจกรรม CCCF และศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินกิจกรรม CCCF ของพนักงาน บริษัท โตโยต้า โบโชคุ เกตเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 251 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนสถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างกับกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่มใช้ทดสอบ Independent Sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มใช้ทดสอบ ANOVA ซึ่งในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างจะใช้การทดสอบรายคู่ โดยวิธี Least Significant Different (LSD) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีตำแหน่งพนักงานอยู่ในส่วนผลิต มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 9 ปี ขึ้นไป และให้ความสำคัญกับระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม CCCF เป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกิจกรรมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมวางแผนอยู่ในระดับปานกลาง และการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับน้อย ส่วนปัจจัยสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจในกิจกรรม CCCF จะมีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินกิจกรรม CCCF ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง จากการศึกษา พบว่าพนักงานมีความรู้สูง แต่พนักงานนำความรู้ไปใช้ในกิจกรรมไม่ได้เต็มความรู้ความสามารถ
The independent study was conducted to investigate the factors that related to the level of employees’ participation in Completely Check Completely Find-Out Activity (CCCF), and examine the personal factors that affected the level of employees’ participation in Completely Check Completely Find-Out Activity (CCCF) in Toyota Boshoku Gateway (Thailand) Co.,Ltd. The sample for the study consisted of 251 employees. The data were gathered though the questionnaires and analyzed applying Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Sample t-test, ANOVA, Least Significant Difference (LSD), and Person’s Simple Correlation Coefficient. The result of the study revealed the majority of the respondents were male, finished secondary educational/vocational education, worked in production section, had more than 9 years of experience. Concerning the importance on the level of the participation on the Completely Check Completely Find-Out Activity (CCCF), it was found that the respondents focused on the aspect of ideas expressing and activities involving at a high level. However, the participation in the aspect of planning was at a moderate level, but in the aspect of tracking was found at a low level. Regarding the supporting factors on knowledge and understanding about the Completely Check Completely Find-Out Activity (CCCF), it was found that was a positive relationship with the employees’ participation in Completely Check Completely Find-Out Activity at a moderate level. The result of the study indicated that the employees gained high knowledge, but they did not completely apply it to the activity.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/832
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124366.pdfปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินกิจกรรมการค้นหาและประเมินอันตราย (CCCF) : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า โบโชคุ เกตเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด24.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.