Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/851
Title: | ปัจจัยด้านการใช้ระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Factor Affecting E-learning System Usage for Providing Environmental Study, Institute of Environmental Training and Technology Transfer |
Authors: | อนงค์นาฎ อินสุธา |
Keywords: | สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อการสอน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาระบบสารสนเทศ |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการใช้ระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ของสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ศึกษา คือ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้งานระบบ ส่วนการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(elearning) พิจารณาทางด้านเนื้อหาของบทเรียน ระบบบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร และการสอบ/วัดผลการเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้เรียนจบหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 197 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ความแตกต่างใช้สถิติทดสอบ ได้แก่ Independent Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ใช้วิธี Least Significant
Difference (LSD)
จากการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 31 - 40ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และมีความถี่ในการใช้ระบบ1 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ใช้ระบบ 15.01 - 20.00 น. โดยมีความรู้/ประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ 11 - 15 ปี และสถานที่เรียนเป็นที่ทำงาน
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ หลักสูตรที่จบ และปัจจัยพฤติกรรมการใช้งาน ความถี่ ช่วงเวลาที่ใช้ระบบและความรู้/ประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ มีผลต่อการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เรียนในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญกับการทดสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนจากการเรียน The purpose of this independent study was to study the factors on the usage of theelearning system affecting the environmental study of the Institute of Environmental Training and Technology Transfer (IET). The factors studied were demographic characteristics and using behaviors. The contents of the courses, learning management system, interaction, and learning assessment were considered as the providing of the environmental study via e-learning system. The sample consisted of 197 learners who passed the e-learning courses of the IET. The questionnaire was used as research instrument while the statistics used for data analysis was descriptive statistics. The Independent Samples t-test, One-Way Analysis of Variance, and Least Significant Difference (LSD) were used to analyze the difference. According to the survey, the majority of the respondents were male, aged between 31 and 40 years old. Most of them got the bachelor’s degree. Government/state enterprise officers were their occupations. Their learning behaviors mostly found were studying once to three times a week, accessing to the e-learning system during 3.01 to 8.00 p.m., having computer experiences for 11-15 years, and taking the e-learning course at their workplace. The results of the analysis indicated that the environmental study was affected both by the demographic characteristics such as ages, education levels, occupations and courses, and by using behaviors: frequency of usage, access time and computer skills. Moreover, the learners gave the importance to the learning assessment of their knowledge and ability. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/851 |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
124385.pdf | ปัจจัยด้านการใช้ระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม | 49.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.